เจาะลึกข้อสอบ BMAT MATH พร้อมเทคนิคอัพคะแนน

เจาะลึก ข้อสอบ BMAT MATH พร้อมเทคนิคอัพคะแนน โดยครูโน๊ต
สวัสดีน้องๆ ว่าที่แพทย์และทันตแพทย์ทุกคน ใครที่กำลัง “เตรียมตัว” อยู่ พี่ขอบอกเลยว่าสำหรับระบบ TCAS นั้น มีช่องทางพิเศษสำหรับน้องๆ ที่อยากเข้าแพทย์อยู่ นั่นก็คือ รอบ Portfolio ที่จะมีโครงการความสามารถพิเศษทางภาษาอังกฤษ และพี่มองว่าช่องทางนี้ คือ “การเพิ่มโอกาส”
ตัวข้อสอบที่เป็นไฮไลท์ ก็คือ BMAT (BioMedical Admissions Test) เพราะเป็นข้อสอบที่แทบทุกคณะจะให้น้ำหนักมากที่สุด ดังนั้น ถ้าน้องทำคะแนนได้ดี น้องก็จะได้เปรียบคนอื่นๆ สำหรับข้อสอบ BMAT จะแบ่งเป็น 3 parts คือ
Section1: Aptitude and Skills
Section2: Scientific Knowledge and Application
Section3: Writing Task
น้องๆ หลายคนมักจะเอาเวลาไปทุ่มในส่วน Aptitude and Skills เยอะมาก จนลืมส่วนของ Scientific Knowledge and Application ไปเพราะคิดว่ามันง่าย แต่พี่ขอบอกน้องเลยว่า อย่าประมาท กับ BMAT Section 2 เพราะถึงแม้พาร์ทนี้จะไม่ยากมาก แต่น้องหลายๆ คนก็ตกม้าตายกันมาแล้ว ปัญหาก็เกิดมาจาก ทำไม่ทัน สะเพร่า และโดนหลอก ซึ่ง BMAT Section 2 มีทั้งหมด 27 ข้อ 30 นาที ดังนั้น น้องมีเวลาในการทำแต่ละข้อเฉลี่ยข้อละ 1 นาทีเท่านั้น
“อย่าประมาท กับ BMAT Section 2 เพราะถึงแม้พาร์ทนี้จะไม่ยากมาก แต่น้องหลายๆ คนก็ตกม้าตายกันมาแล้ว ปัญหาก็เกิดมาจาก ทำไม่ทัน สะเพร่า และโดนหลอก”
ในบทความนี้ พี่จะขอแนะนำส่วนที่พี่คิดว่าน้องๆ จะเก็บคะแนนได้มากที่สุดและคุ้มค่าแก่การเตรียมตัวเพราะใช้เวลาในการเตรียมน้อย ส่วนนั้นก็คือ ข้อสอบ BMAT Math นั่นเอง ถึงแม้จะออกน้อยกว่า พาร์ทอื่นๆ (5-6 ข้อต่อชุดข้อสอบ) แต่ระดับความยากมันต่ำและใช้เวลาน้อย จากการที่พี่ลองนั่งดูข้อสอบ ย้อนหลัง พบว่าแนวทางข้อสอบชุดแรกๆ ค่อนข้างแตกต่างจากปัจจุบัน ดังนั้นพี่จึงเลือกวิเคราะห์ข้อสอบ 10 ปีย้อนหลังเพื่อความใกล้เคียง พี่ขอสรุปข้อมูลที่เป็นประเด็นสำคัญๆ ดังนี้

สัดส่วน ข้อสอบ BMAT Math ที่ออกสอบในปี 2008 - 2017
บทที่ออกข้อสอบคิดเป็นเปอร์เซนต์เรียงตามลำดับ คือ
- Geometry คิดเป็นจำนวน 34%
- Algebra คิดเป็นจำนวน 21%
- Probability คิดเป็นจำนวน 16%
- Number คิดเป็นจำนวน 14%
- Word Problem คิดเป็นจำนวน 9%
- Statistic คิดเป็นจำนวน 7%
ความน่าจะเป็นของแต่ละบทที่จะออกใน ข้อสอบ BMAT Math
- Geometry โอกาสออก 100% (ออกข้อสอบทุกปี, 10 ครั้ง ออกทุกครั้ง)
- Algebra โอกาสออก 90% (ออกทุกปียกเว้นปี 2010, 10 ครั้งออก 9 ครั้ง)
- Probability โอกาสออก 90% (ออกทุกปียกเว้นปี 2010, 10 ครั้งออก 9 ครั้ง)
ซึ่งในสองครั้งที่ Algebra หรือ Probability ไม่ออกนั้น ข้อสอบ BMAT Math จะเปลี่ยนไปเพิ่มในส่วนของบท Geometry แทนทั้งปี 2010 และปี 2018
- Number คิดเป็นจำนวน 70%
- Word Problem คิดเป็นจำนวน 50%
- Statistic คิดเป็นจำนวน 40%
ลำดับถัดมาพี่จะขอเจาะลึกลงไปใน Topic ย่อยๆ ใน 3 บทแรกที่มีโอกาสออกบ่อย เพื่อน้องจะได้เตรียมตัวได้ตรงจุดขึ้น

3 เรื่องที่ออกสอบบ่อยที่สุดใน ข้อสอบ BMAT Math
Geometry ฝึกเรื่องของ
Triangle (Similar Triangles, Pythagorean theorem and Trigonometry)
ตัวอย่างโจทย์


Algebra ฝึกเรื่องของ
Simplification/Quadratic Equations
ตัวอย่างโจทย์




Probability ฝึกเรื่องของ
Dependent Event/Independent Event
ตัวอย่างโจทย์




5 เทคนิคอัพคะแนน BMAT Math
จากข้อมูลด้านบน พี่ก็เลยขอเสนอทริกเพื่อจะช่วยให้น้องได้คะแนนมากขึ้น คือ
1. SCAN หาเลขข้อที่หาร 4 ลงตัว ข้อสอบ BMAT Math ส่วนใหญ่จะออก 5- 6 ข้อ และจะอยู่ในเลขข้อที่หาร 4 ลงตัว (เช่น ข้อ 4,8,12,16,20,24) ถ้าน้องอยากจะทำ Math ก่อน ให้ไล่ดูข้อเหล่านี้ก่อนได้เลย
2. SKIP ข้อยาก อย่าไปเสียเวลา ใน 6 ข้อนั้น ทุกปี จะมีข้อยาก หรือข้อที่กินเวลาในการทำจริงๆ แค่ 1-2 ข้อ ถ้าน้องเจอให้ข้ามไปทำข้ออื่นก่อนเลย จะได้ไม่เสียเวลา เพราะทุกข้อในข้อสอบ BMAT Section 2 นั้นมีน้ำหนักเท่ากัน
3. SIMPLICITY เลือกทำข้อง่ายเก็บแต้มได้เร็ว ใน 6 ข้อ จะมีข้อที่ไม่ยาก ทำได้เร็วๆ ประมาณ 4 ข้อ โดยปกติ (บางปีอาจจะมียากกลาง ๆ เข้ามา)
- เนื้อหาข้อสอบที่ไม่ค่อยยากและทำได้เร็ว คือ กลุ่มของ Simplification, Exponent & Root และ Find x in term of ….
4. SECOND TIME ทวนคำถามอีกครั้ง อย่าให้โจทย์หลอก ข้อสอบ BMAT Math นั้น โจทย์มักจะหลอกเป็นประจำ น้องต้องตั้งสติ อ่านคำถามให้ดี ก่อนตอบก็ดูว่าใช่สิ่งที่โจทย์ถามหรือไม่ เช่น
- โจทย์ถามหา a+ab แต่เวลาเราหา a หา b แล้ว เราดันไปตอบ a+b ข้อสอบ BMAT ดันมีให้เลือกอีก ก็จะผิดกันไป ดังนั้นก่อนตอบขอให้น้อง “อ่านคำถามอีกครั้งหนึ่ง” เสมอ
5. SUPER CARE ต้องระวัง! อย่าเลือกผิด นอกจากโจทย์จะหลอกแล้วตัวเลือกก็ยังหลอกอีกด้วย เนื่องจากข้อสอบ BMAT Math สามารถออกตัวเลือกได้มากถึง 8 ตัวเลืิอก ทำให้สลับตัวแปรไปมาได้หลากหลาย อาจจะทำให้น้องตาลายแล้วกาผิดได้ ตัวอย่างตัวเลือกที่เขียนออกมาคล้ายๆ กัน เช่น

จากบทความนี้พี่หวังว่า น้องจะลองให้เวลากับ BMAT Section 2 ในส่วนของ Math บ้าง อย่าทิ้งหรืออย่าประมาท เพราะพาร์ท Math นี้ ง่ายต่อการเก็บคะแนน ขอแค่น้อง วางแผน มีสติ อ่านโจทย์ อ่านตัวเลือกดีดี และกล้าข้ามข้อที่ทำให้เราเสียเวลา ขอให้น้องๆ ทุกคน ตั้งใจ เตรียมตัวให้พร้อมสอบ BMAT และได้คะแนนสมหวังกันทุกคนนะครับ
สำหรับน้องๆ ที่อยากรู้วิธีคิด เทคนิคการทำยังไงให้ทันเวลา หรือเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงเฉพาะ BMAT Section 2 น้องๆ สามารถเข้ามาพูดคุยกับพี่โน้ต 1ON1 ได้ที่ ignite พี่ยินดีให้คำปรึกษาน้องเต็มที่ครับ รับรองว่าได้เทคนิคเด็ดๆ อีกเพียบ (^^)
สำหรับน้องอยากศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสอบ BMAT เพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่าน >> รีวิวข้อสอบพร้อมเทคนิคพิชิต ข้อสอบ BMAT PART 1 BY พี่ภัทร์และพี่กั๊ก หรือทบทวน >> BMAT Part 2 Chemistry ด้วยเคล็ดลับจากพี่ก๊อฟ และเรียนรู้ >> BMAT Part 2 Physics กับ TOPICS ที่หลักสูตรไทยไม่ครอบคลุมจากพี่เกรท
ใหม่ล่าสุด! กับคอร์ส BMAT ในระบบ Learn Anywhere ที่พร้อมเสิร์ฟให้น้องๆ ทุกคนเข้าถึงบทเรียนได้ เพียงมี Mobile, iPad, iMac, Notebook หรือ PC ก็สามารถเข้าถึงบทเรียนได้ถ้ามี Internet เพื่อให้น้องๆ สามารถเรียน Online ที่ไหน เมื่อไหร่ก็เรียนได้ พร้อมตะลุยโจทย์กับทุกคอร์ส Versions ล่าสุด!
สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียน BMAT ได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนในระบบ Learn Anywhere ทั้งหมดได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/platform-anywhere/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
รีวิวการเตรียมตัวสอบเข้า แพทย์จุฬาฯ รอบ Portfolio แบบฉบับเด็กโรงเรียนไทย จากน้องกู๊ด สวนกุหลาบวิทยาลัย
สวัสดีน้องๆ ว่าที่หมอทุกคนครับ วันนี้พี่แอดมินพาพี่กู๊ด รุ่นพี่ ignite จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ตอนนี้เป็นรุ่นพี่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย …มาแนะนำ การเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio แบบฉบับนักเรียนไทย ให้น้องๆ มั่นใจว่าจะสอบติดชัวร์ๆ นะครับ พร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลย !! เรียนโรงเรียนไทย…ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ใน TCAS รอบ 1 ? น้องๆ หลายคนคงสงสัยว่า พี่เป็นเด็กโรงเรียนไทย แต่ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ เดี๋ยววันนี้พี่จะแนะนำข้อดีของการเตรียมตัวสอบเข้าหมอรอบ Portfolio ให้ฟังนะครับ TCAS รอบ 1 ช่วยเพิ่มโอกาสที่เราจะสอบติดหมอได้มากขึ้น เพราะถ้าเรามุ่งเน้นที่ รอบ กสพท. แต่เพียงอย่างเดียวก็เหมือนเป็นการตัดโอกาสของตัวเองทิ้งไปดื้อๆ พี่เลยเลือกเตรียมตัวรอบ 1 ให้เรามีเส้นทางสู่การเป็นหมอเพิ่มขึ้นครับ ซึ่งสำหรับพี่คิดว่า เราสามารถเตรียมสอบแพทย์ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เปิดเทคนิคการทำพอร์ตแพทย์ SWU-NOTT สไตล์พี่ปัณญ์ RIS
วันนี้พี่แอดมินขอชวนน้องๆ มาทำความรู้จักกับพี่ปัณญ์ คนเก่งจาก Ruamrudee International School (RIS) ที่สอบติดคว้าตำแหน่งตัวจริงแพทย์รอบพอร์ต MED SWU-NOTT TCAS67 ซึ่งบอกเลยว่าเทคนิคการทำพอร์ตของพี่ปัณญ์ว๊าววววมากกกก จนพี่อดไม่ไหวต้องขอให้พี่ปัณญ์มาร่วมแชร์เทคนิคส่งต่อให้กับน้องๆ ที่อยากเข้าคณะแพทย์รอบพอร์ต ใครกำลังทำพอร์ตอยู่มาศึกษาเทคนิคดีๆ กัน พี่ปัณญ์เริ่มเตรียมตัวเข้าคณะแพทย์ช่วงไหน? ปัณญ์ : Grade 9 “ตอนนั้นปัณญ์มีโอกาสได้ไป Internship เพื่อค้นหาว่าเราชอบในอาชีพหมอจริงๆ ไหม เพราะบางทีสิ่งที่เราวาดภาพเอาไว้ กับชีวิตจริงอาจจะแตกต่างกัน โดยปัญณ์ได้ไปที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร ซึ่งเป็นอีกมุมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน คุณหมอแต่ละคนทำงานหนักและต้องทุ่มเทในการรักษาคนไข้ ซึ่งปัญณ์ก็รู้สึกว่า มันใช่สำหรับเรา ไม่ว่าจะหนักแค่ไหนเราก็พร้อมที่จะเดินไปในเส้นทางนี้ ก็เริ่มเตรียมความพร้อมเข้าคณะแพทย์ตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นมา” ทำไมพี่ปัณญ์ถึงเลือกเตรียมเข้าแพทย์รอบพอร์ต ปัณญ์ : เป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนเรียนอินเตอร์ “จริงๆ แล้วแพทย์รอบพอร์ตเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับคนที่เรียนหลักสูตรอินเตอร์และทุกๆ คน เป็นรอบเดียวที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงตัวตนของตัวเองให้คณะกรรมการเห็น ผ่าน SOP หรือ Essay และพอร์ตที่เราส่งไป และปัณญ์รู้สึกว่าการเข้าแพทย์รอบพอร์ต เป็น Journey การเข้ามหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ต้องการเพียงแค่คะแนนสอบ ทำให้เราไม่ต้องเครียดกับการเตรียมคะแนนสอบมากจนเกินไป” […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวสัมภาษณ์คณะอินเตอร์สายศิลป์ยอดฮิต BALAC,COMMARTS,JIPP กับพี่ปีเตอร์ รุ่นพี่ ignite การันตีสอบติดทุกคณะ!
สวัสดีน้องๆ ทีมสายศิลป์ทุกคนครับ วันนี้พี่แอดมินพาพี่ปีเตอร์ TCAS63 รุ่นพี่ ignite ที่ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์และมีรายชื่อสอบติดจริงของคณะอินเตอร์สายศิลป์ยอดฮิตอย่าง BALAC CU (คณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) และ COMMARTS CU (คณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) รวมทั้ง JIPP CU (คณะจิตวิทยา ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) มารีวิวบรรยากาศ แนวคำถามและสิ่งที่น้องควรต้องเตรียมตัวไปสัมภาษณ์…ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย !! รีวิวสัมภาษณ์ COMMARTS จุฬาฯ (คณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์) สำหรับ COMMARTS (คณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) จะเริ่มจากการแนะนำตัวครับ อาจารย์จะถามถึงอาชีพในอนาคตที่เราอยากทำด้วยแล้วจะให้อธิบายว่ามันเกี่ยวอย่างไรกับคณะนี้ และพี่อยากให้น้องๆ ให้ความสำคัญกับข่าวในปัจจุบันที่กำลังเป็นกระแสครับ เพราะอาจารย์จะถามถึงประเด็นเหล่านี้แบบลึกซึ้ง ทั้งนี้การสัมภาษณ์ของ COMMARTS จุฬาฯ จะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีครับผม พูดคุยและโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ กับอาจารย์ 2 คน…บางห้องอาจจะเจออาจารย์ต่างชาติทั้งคู่ หรือบางห้องก็มีอาจารย์ไทยคู่กับต่างชาติครับ แต่ขอบอกว่าไม่มีห้องที่เป็นอาจารย์คนไทยทั้งคู่นะครับ โดยรวมแล้วบรรยากาศการสัมภาษณ์จะเป็นทางการเลยครับ ถึงแม้ว่าคำถามและท่าทีของอาจารย์จะไม่กดดันมากเท่าไหร่ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
ความแตกต่างของ CU-ATS vs SAT Subject Tests
สวัสดีครับชาว igniter ทุกคน ตั้งแต่ต้นปี 2021 มานี้ น้องๆ ทุกคนต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้ง การยกเลิกข้อสอบ SAT Subject Tests, สนานสอบ SAT ยกเลิกการสอบเพราะพิษโควิด, Requirement ที่ไม่แน่นอนของทางมหาวิทยาลัยว่าจะใช้คะแนนสอบใดแทนได้บ้าง ทำเอาน้องๆ หลายๆ คนถึงกับตั้งตัวไม่ทันเลย พี่ๆ ignite ทุกคนขอเป็นกำลังใจให้ครับ อย่างไรก็ตาม สำหรับน้องๆ ทีม ISE CU เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า จะสามารถยื่นคะแนน CU-ATS และ CU-AAT แทน SAT Subject Tests ได้ ดังนั้น พี่ๆ จึงไม่รอช้า มาแชร์แบบหมดเปลือกว่าข้อสอบ CU-ATS มีอะไรที่เหมือนหรือต่างไปจากข้อสอบ SAT Subject Test บ้าง […]
Comments (0)
Comments