เทียบช็อต ต่อ ช็อต CU-ATS กับ SAT Subject Tests แตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

สวัสดีครับน้องๆ บทความนี้พี่ก๊อฟหยิบยกประเด็นร้อนมาแชร์ให้น้องๆ อ่านกันเลยครับว่า เมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิกรอบสอบ ทำให้ทั้งปี 2021 จะเหลือรอบสอบเพียง 2 รอบสุดท้ายเท่านั้น คือ 8 พ.ค. และ 5 มิ.ย. น้องๆ หลายคนที่กำลังเตรียมตัวเข้า ISE และ BSAC จุฬาฯ จึงต่างหันมาเลือกสอบ CU-ATS ซึ่งก็เป็นอีก 1 ใน Requirements ของ 2 คณะนี้ วันนี้พี่ก๊อฟเลยขอมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-ATS และ SAT Subject Tests แบบเจาะลึกทุกแง่มุมไปเลยครับ
ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS vs SAT Subject Tests

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักทั้ง 2 ข้อสอบนี้กันดีกว่า
CU-ATS คือ Aptitude Test for Science of Chulalongkorn University เป็นแบบทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อเข้าเรียนต่อภาคอินเตอร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จัดสอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยวิชาเคมีและฟิสิกส์ อายุคะแนน คือ 2 ปี และมีจำนวนรอบสอบทั้งหมด 4 รอบต่อปี น้องๆ สามารถตรวจสอบวันสอบได้ที่ http://www.atc.chula.ac.th/pdf2021/Calendar_PBT.pdf
ส่วน SAT Subject Tests หรือ SAT II คือ การสอบวิชาเฉพาะทางที่ใช้สำหรับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เป็นข้อสอบที่ได้มาตรฐานสากล จัดสอบโดย College Board มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะนิยมนำคะแนน SAT Subject Tests เป็นเกณฑ์พิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ หรือคณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น SAT ll เปิดสอบหลากหลายกลุ่มวิชา เช่น กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ และกลุ่มวิชาภาษาที่สาม
โดยในประเทศไทย มหาวิทยาลัยที่เปิดรับพิจารณาคะแนน SAT Subject Tests มักนิยมใช้คะแนนในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิชา Mathematics Level 2 วิชา Chemistry วิชา Physics และวิชา Biology (M) อายุคะแนนอยู่ที่ 2 ปี และมีจำนวนรอบสอบเดิมอยู่ที่ 4 รอบต่อปี แต่หลังจากประกาศยกเลิกรอบสอบ ทำให้ในปี 2021 เหลือเพียง 2 รอบเท่านั้น
ทั้งนี้ น้องสามารถทำความเข้าใจการสอบ SAT Subject Tests อย่างละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ >> SAT Subject tests คือ ? รู้จักกับกุญแจสำคัญที่ทำให้ติดคณะอินเตอร์
การยื่นคะแนน CU-ATS vs SAT Subject Tests

ก่อนหน้านี้น้องๆ หลายคนจะคุ้นเคยกันดีว่าคะแนน SAT Subject Tests นอกจากจะใช้ยื่นเข้า ISE และ BSAC จุฬาฯ ได้แล้ว ยังสามารถใช้ยื่นเข้า คณะแพทยศาสตร์ และ ทันตแพทยศาสตร์ ของบางมหาวิทยาลัยได้ด้วยเช่น แพทยศาสตร์ PCCMS และ ทันตแพทยศาสตร์ MIDS เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิกการสอบ สำหรับน้องๆ ที่แพลนจะเข้าคณะ ISE และ BSAC จุฬาฯ ยังไม่ต้องกังวลมาก เพราะ จุฬาฯ ยังคงเปิดรับคะแนนสอบ CU-ATS ทั้งวิชาเคมีและฟิสิกส์ปกติ และน้องๆ ก็ต้องสอบ CU-AAT Math เป็นวิชาคณิตศาสตร์แทนตัว SAT Subject Test Math Level 2 ด้วย
แต่สำหรับน้องๆ ที่จะเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ และ ทันตแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ อาจจะต้องมาลุ้นกันอีกครั้งว่าแต่ละคณะจะประกาศเกณฑ์คะแนนปี 65 ออกมาอย่างไรบ้างครับ
การสมัครสอบและค่าธรรมเนียม CU-ATS vs SAT Subject Tests

สำหรับรูปแบบและค่าธรรมเนียมของทั้ง 2 ข้อสอบนี้ ค่อนข้างแตกต่างกัน กล่าวคือ
ในการสอบ CU-ATS จะมีรูปแบบการสอบทั้งแบบกระดาษ 1,000 บาท และสอบคอมพิวเตอร์ 2,600 บาทซึ่งการประกาศผลสอบแบบคอมพิวเตอร์จะสามารถรู้ผลสอบได้ทันที เหมาะกับน้องที่ต้องการใช้คะแนนเลย และการสอบนี้จะจัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น ที่สำคัญ ในการสอบ 1 ครั้ง น้องๆ จะได้สอบทั้ง 2 วิชาคือเคมีและฟิสิกส์ ไม่สามารถแยกสอบวิชาใดวิชาหนึ่งได้
ส่วนรูปแบบการสอบของ SAT Subject Tests จะมีแต่แบบกระดาษเท่านั้น และในการสมัครสอบจะสามารถแยกวิชาที่สอบได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 3 วิชาต่อรอบ โดยค่าธรรมเนียมการสอบก็จะแตกต่างกันอยู่ที่ประมาณ 3,500 (1 วิชา), 4,500 (2 วิชา) และ 6,000 (3 วิชา) ที่สำคัญ เนื่องจาก SAT Subject Tests ได้รับความนิยมมาก ทำให้มีศูนย์สอบหลายแห่งให้น้องๆเลือกได้เลย นอกจากนี้ทั้ง 2 การสอบไม่จำกัดอายุผู้เข้าสอบด้วย
วิชาและรูปแบบข้อสอบ CU-ATS vs SAT Subject Tests

อีกหนึ่งความแตกต่างที่ชัดเจนมากๆ ระหว่าง 2 ข้อสอบนี้คือวิชา และจำนวนข้อที่ออกสอบ ดังนี้
ข้อสอบ CU-ATS ในปัจจุบันประกอบด้วย 2 วิชาเท่านั้น ได้แก่ CU-ATS Chemistry และ CU-ATS Physics ต้องสอบครั้งละ 2 วิชา วิชาละ 1 ชั่วโมง รวมระยะเวลาในการสอบ CU-ATS 2 ชั่วโมง โดย Physics มีจำนวน 30 ข้อ และ เคมี 55 ข้อ สำหรับการสอบ CU-ATS ทางศูนย์สอบจะจัดเตรียมเครื่องคิดเลขไว้ให้ผู้เข้าสอบไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SAT Subject Tests จะมีหลากหลายวิชา แต่ตัวที่นิยมสอบในไทยมีทั้งหมด 4 วิชาได้แก่ Physics, Chemistry, Biology, และ Math LV 2 ในการสอบ 1 ครั้งผู้เข้าสอบเลือกสอบได้สูงสุดไม่เกิน 3 วิชา ระยะเวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง โดยจำนวนข้อของแต่ละวิชา ได้แก่ Physics 75 ข้อ, Chemistry 85 ข้อ, Biology 80 ข้อ, และ Math LV2 50 ข้อ ดังนั้น น้องๆต้องวางแผนเลือกวิชาสอบดีๆ และต้องบริหารเวลาในการทำข้อสอบแต่ละวิชาดีๆด้วย ที่สำคัญ น้องๆไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ในการสอบ SAT Subject Tests ยกเว้นวิชา Math LV2 เท่านั้น
พี่ก๊อฟได้สรุปความแตกต่างของข้อสอบ SAT Subject Test Chemistry และ CU-ATS ไว้แล้ว ไปอ่านได้เลยที่ >> เปรียบเทียบโจทย์ SAT Subject Test Chemistry VS CU-ATS (Chemistry)
สรุป CU-ATS ต่างจาก SAT Subject Tests ยังไง?

สุดท้ายนี้ พี่ก๊อฟได้สรุปความแตกต่างของ 2 ข้อสอบนี้ไว้ให้แล้ว รับรองว่าไม่ตกหล่นสักประเด็นแน่นอนครับผม
สำหรับน้องๆ ที่มีเป้าหมายอยากเข้าคณะ ISE และ BSAC จุฬาฯ อยู่แล้ว บอกเลยว่าพี่ก๊อฟพร้อมช่วยเต็มที่ จัดเต็มยกทัพคอร์ส CU-ATS ครบทั้ง 2 วิชา และ CU-AAT Math มาพร้อมเสิร์ฟน้องๆ รับรอบว่าเนื้อหาเข้มข้น โจทย์อัดแน่น และอัพเดทตามข้อสอบล่าสุดแน่นอนครับ
สอบถามรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้เลยที่

น้องๆ คนไหนที่อยากสมัครเรียน สามารถเข้ามาปรึกษาสอบถามรายละเอียดการเรียนได้ทาง Line : @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475
สามารถซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่าน Shop Online ของ ignite …พร้อมแล้วลุยเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน CU-ATS / CU-AAT ทั้งหมดได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/cu-aat-cu-ats/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
คู่มือสำหรับพ่อแม่ อยากให้ลูกติดหมอ ตั้งแต่ TCAS รอบแรก ต้องใช้อะไรบ้าง
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ทุกที่อยากให้ลูกๆเป็นหมอทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะแพทย์ TCAS รอบ 1 หรือที่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านจะคุ้นหูกับคำว่า “แพทย์รอบ Portfolio” ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดรับ เช่น แพทย์จุฬาฯ แพทย์รามาฯ แพทย์ม.ขอนแก่น แพทย์ม.เชียงใหม่และอีกมากมายโดยวันนี้ ignite จะมาแนะนำข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่สอบติดหมอก่อนใครตั้งแต่ TCAS รอบแรก…ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย !! สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio ต้องใช้อะไรบ้าง GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม สิ่งที่จำเป็นต่อการ สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio อย่างแรกคือ GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม โดยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ใช้เกรดรวมทั้งหมด 4-5 เทอมด้วยกัน แต่จะมีเกณฑ์เกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละคณะ แต่ต้องเรียนคุณพ่อคุณแม่ว่าหากลูกของท่านมี GPAX ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป น้องๆ จะมีโอกาสในการยื่นเข้าคณะแพทย์รอบ 1 ได้ทุกมหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
-
Blog
ไขข้อสงสัย ความแตกต่างระหว่างหลักสูตร A-Level, IB, AP ในระบบการศึกษาแบบนานาชาติ
ในยุคที่โรงเรียนนานาชาติในไทยพากันผุดเป็นดอกเห็ด บรรดาผู้ปกครองและน้องๆ ก็อาจจะสับสนกับระบบและหลักสูตรต่างๆ ของ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ทำไมคนนั้นเรียน A-Level แล้ว ระบบ IB ละคืออะไร ทำไมบางโรงเรียนถึงเลือกได้ทั้งสองแบบ ในขณะที่บางโรงเรียนมีแค่ AP แล้วต้องสอบ SAT ด้วย ?? วันนี้พี่เอมี่และพี่แทนจะมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เกี่ยวกับความต่างของแต่ระบบวิชาในโรงเรียนกันค่ะ โดยหลักสูตรที่ popular ที่สุดในประเทศไทยคงจะหนีไม่พ้นหลักสูตรอังกฤษ ตามด้วยหลักสูตรอเมริกัน และ หลักสูตร IB ตามลำดับ ความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษานานาชาติ หลักสูตรอังกฤษ – หลักสูตรอเมริกัน – หลักสูตร IB พอจะเห็นภาพความแตกต่างของระบบการศึกษาต่างๆ กันแล้วใช่ไหมคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองที่กำลังเลือกโรงเรียนให้บุตรหลาน หรือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบโรงเรียนนานาชาติต่างๆ ควรจะศึกษาหลักสูตรที่เหมาะกับความถนัดและความต้องการในการเรียนต่อในอนาคตมากที่สุดค่ะ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รวมคำถามที่พบบ่อย การสมัครสอบ SAT ปี 2021
สวัสดีครับวันนี้พี่แอดมินพาพี่ภัทร์และพี่ข้าว #กูรูSAT มาเคลียร์ข้อสงสัยใน การสมัครสอบ SAT แบบใหม่ ที่จะใช้ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป เพื่อไม่ให้น้องๆ กังวลในการสมัครสอบ พวกเราเลยขอรวบรวมคำถามและปัญหาที่พบบ่อยๆ ไว้ที่นี่ที่เดียวกันไปเลย…พร้อมแล้วไปดูคำถามแรกสุดฮิตที่เป็นปัญหาของน้องๆ หลายคนจากพี่ภัทร์ กันก่อนเลยว่าเราควรสมัครสอบ SAT ที่ไหนถึงจะไม่โดนยกเลิก สมัครสอบ SAT ที่ไหนถึงจะไม่โดนยกเลิก by พี่ภัทร์ รวมคำถามที่พบบ่อย ในการสมัครสอบ SAT ปี 2021 Q : วิธีเปลี่ยนสนามสอบ SAT หลังจากที่สมัครทุกอย่างไปเรียบร้อยแล้ว A : เข้าไปที่ my sat > my registration> เลือกรอบที่ต้องการจะเปลี่ยน > กด I would like to…. > change registration (แต่ตอนนี้เหมือนระบบการเปลี่ยนสนามสอบจะเกิดขัดข้อง น้องๆอาจต้องลอง […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เตรียมตัวอย่างไรให้พิชิต BMAT Biology โดย ครูเคนจิ
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่น้องหมอทุกๆ คน พี่เคนจิ สอนวิชา BMAT Biology ให้ครับ ignite by OnDemand อยากมาแชร์เทคนิคที่หลายๆคนสงสัยว่าจะ เตรียมตัวทำข้อสอบ BMAT Biology ยังไง? ให้ทำได้ครบ ทำได้ทัน และมั่นใจในทุกคำตอบ พี่เคนจิ ได้ไกด์แนวทางในการเตรียมตัวให้น้องๆ ไว้แล้วเริ่มอ่านกันได้เลย เทคนิคเตรียมตัวสอบ BMAT Biology โดยครูเคนจิ 1. ทำความเข้าใจ specification ทำความเข้าใจ specification ให้ดีว่าเราต้องรู้อะไรบ้าง เพราะสิ่งที่เราต้องรู้ในแต่ละปีอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ใช้ตัว specification เป็น checklist ดูว่าเรารู้ทุกอย่างครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ข้อสอบจะชอบออกเนื้อหาใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้าไป 2. ทำโจทย์ BMAT เยอะๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับแนวคำถาม เพราะโจทย์ทั้งยาวและชอบดักทางเรา โดยการใช้คำที่มักทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่น only, could be กับ must […]
Comments (0)
Comments