MCAT คืออะไร? ทำความรู้จักข้อสอบพิชิตเส้นทางหมอในอเมริกาและแคนาดา
หลังจากมีการประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่า การสอบ BMAT รอบตุลาคม 2023 จะเป็นการสอบรอบสุดท้าย และจะไม่มีการจัดสอบเพิ่มเติมอีก โดยยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า จะนำการทดสอบใดเข้ามาแทนที่ ทำให้ข้อสอบที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงมากที่สุดอย่าง ข้อสอบ The Medical College Admission Test หรือ MCAT ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีโอกาสแค่ไหนที่จะถูกนำมาใช้แทนที่ BMAT วันนี้พี่ ignite เลยอยากจะชวนน้องๆ ที่วาดเส้นทางฝันสู่การเป็นหมอ มาทำความรู้จักกับข้อสอบ MCAT คืออะไร? สอบอะไรบ้าง..เปรียบเทียบกับข้อสอบ BMAT และ UCAT แตกต่างกันอย่างไร? กันไว้ก่อนครับ
ข้อสอบ MCAT คือ
ข้อสอบ MCAT (The Medical College Admission Test) คือ ข้อสอบที่ใช้สำหรับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสมาคมวิทยาลัยการแพทย์อเมริกัน (AAMC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับข้อสอบ BMAT แต่แตกต่างตรงที่ไม่มีข้อสอบทางด้านคณิตศาสตร์แบบเจาะลึก ข้อสอบ MCAT ถูกใช้เพื่อคัดเลือกสำหรับผู้ที่จบหลักสูตรปริญญาตรี pre-med เพื่อมาศึกษาต่อยอดในโรงเรียนทางการแพทย์
ส่วนในประเทศไทยข้อสอบ MCAT ก็ได้มีการนำใช้เป็นทางเลือกเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อใน คณะแพทย์ศิริราช และแพทย์จุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติ ในปี 2022
รูปแบบของข้อสอบ MCAT
ข้อสอบ MCAT จะเป็นแบบปรนัยทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 Parts คือ
- Biological and Biochemical Foundations of Living Systems (พื้นฐานชีววิทยาและชีวเคมีของระบบสิ่งมีชีวิต) ซึ่งเป็นการทดสอบเกี่ยวกับพื้นฐานวิชาชีววิทยา ชีวเคมี
- Chemical and Physical Foundations of Biological Systems (พื้นฐานเคมีและฟิสิกส์ของระบบสิ่งมีชีวิต) ซึ่งเป็นการทดสอบเจาะลึกทางด้านเคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ตารางธาตุ และฟิลิกส์
- Psychological, Social, and Biological Foundations of Behavior (พื้นฐานทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และชีววิทยาของพฤติกรรม)
- Critical Analysis and Reasoning Skills (ทักษะการวิเคราะห์และการให้เหตุผล)
สำหรับ Part ที่ 1 ถึง 3 จะมีข้อสอบ part ละ 59 ข้อ โดยจะแบ่งออกเป็นการตอบคำถามจากการอ่าน Passages 10 เรื่อง และตอบคำถามที่ไม่เกี่ยวกับ Passages อีก 15 ข้อ มีเวลาในการทำข้อสอบ part ละ 95 นาที
ในส่วนของ Critical Analysis and Reasoning Skills จะแตกต่างไปเล็กน้อย โดยจะมีจำนวน 53 ข้อ เป็นการตอบคำถามจากการอ่าน Passages 9 เรื่อง มีระยะเวลาในการทำ 90 นาที
ความแตกต่างของข้อสอบ BMAT - MCAT - UCAT
นอกจากวิชาสอบที่แตกต่างกันแล้ว MCAT เองยังเป็นข้อสอบที่มีระยะเวลาในการทำนาน 6 ชั่วโมง 15 นาที ไม่รวมเวลาพัก และเวลาพักเที่ยง โหดเอาเรื่องอยู่ใช่ไหมครับ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ MCAT
- คะแนนสอบจะออกหลังสอบเสร็จประมาณ 30-35 วัน โดยสามารถเข้าดูคะแนนได้ที่ https://students-residents.aamc.org/taking-mcat-exam/taking-mcat-exam
- แต่ละ part จะมีคะแนนต่ำสุดที่ 118 คะแนน และสูงสุดที่ 132 คะแนน แตกต่างไปตามความยากง่ายของแต่ละ part คะแนนรวมทั้ง 4 part จะอยู่ที่ 472 – 528 คะแนน
- ควรตอบให้ครบมากที่สุด เพราะข้อที่ตอบผิดจะไม่ถูกนำมาหักลบคะแนน
- ค่าสอบอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท โดยสามารถสอบได้ 3 รอบต่อปี
รอบสอบ MCAT ในประเทศไทย
โดยน้องๆ สามารถสมัครสอบได้ที่ >> https://mcat.aamc.org/mrs/#/
เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ ข้อสอบ MCAT ข้อสอบตัวสำคัญจากทาง US&CA ที่อาจมาแทนข้อสอบ BMAT และถ้าน้องๆ อยากรู้จักกับข้อสอบอีกตัวจากทาง UK อย่างข้อสอบ UCAT คือข้อสอบอะไร? สอบออะไรบ้าง? พี่อิกไนท์ก็ได้ทำเนื้อหาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว คลิกอ่านได้เลย >> UCAT คืออะไร? ชวนรู้จักข้อสอบวัดความถนัด สู่คณะแพทย์-ทันตะใน UK
สำหรับน้องๆ และผู้ปกครองที่อยากปรึกษาวางแผนการเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์รอบพอร์ต และคณะอินเตอร์ยอดฮิต สามารถ Add Line @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475 เข้ามาได้เลย พี่ๆ ทุกคนพร้อมให้คำแนะนำแบบรายบุคคลให้กับทุกครอบครัวครับผม
สามารถช้อปคอร์สเรียนออนไลน์ Learn Anywhere ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านทาง Shop Online ignite คลิกเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
รีวิวสอบเข้า ISE จุฬาฯ ด้วย SAT Subject Tests จากน้องโน้ต กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีน้องๆ ที่อยากสอบเข้า ISE หรือ คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ ทุกคนนะครับ!! วันนี้พี่แอดมินพาพี่โน้ต รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด ISE จุฬาฯ ปีล่าสุด มารีวิวการสอบเข้าวิศวะอินเตอร์ ด้วยคะแนน SAT Subject Tests เพื่อให้น้องๆ ได้ทราบว่าข้อสอบแต่ละวิชามีความยากง่ายอย่างไร ควรเตรียมตัววิชาไหนก่อนและเคล็ดลับการสอบติดจากพี่โน้ต เพื่อให้น้องๆ ทุกคนใช้เป็นแนวทางการเตรียมตัวได้อย่างถูกต้องนะครับ เคล็ดลับเตรียมตัวให้สอบติด ISE จุฬาฯ สำหรับพี่คิดว่าการเริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE ตอน ม.5 เทอม 1 เป็นการเริ่มต้นที่ดีนะครับ ไม่ช้าเกินไป ยังพอมีเวลาเหลือให้เราสามารถไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้อีกด้วย ถ้าเริ่มต้นเตรียมตัวตอน ม.6 อาจจะทำให้เราเหนื่อยจนไม่ค่อยมีเวลาไปทำอย่างอื่นและถ้ายังไม่ได้คะแนนที่ต้องการในรอบแรก ก็จะมีเวลาแก้ตัวน้อยลงอีกด้วยนะครับ ยิ่งถ้าน้องๆ รู้ตัวและตั้งป้าหมายว่าจะเข้า ISE ตั้งแต่ ม.4 ยิ่งจะทำให้เราเตรียมตัวได้ไว เผลอๆ […]
Comments (0) -
Blog
ไขข้อสงสัย ความแตกต่างระหว่างหลักสูตร A-Level, IB, AP ในระบบการศึกษาแบบนานาชาติ
ในยุคที่โรงเรียนนานาชาติในไทยพากันผุดเป็นดอกเห็ด บรรดาผู้ปกครองและน้องๆ ก็อาจจะสับสนกับระบบและหลักสูตรต่างๆ ของ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ทำไมคนนั้นเรียน A-Level แล้ว ระบบ IB ละคืออะไร ทำไมบางโรงเรียนถึงเลือกได้ทั้งสองแบบ ในขณะที่บางโรงเรียนมีแค่ AP แล้วต้องสอบ SAT ด้วย ?? วันนี้พี่เอมี่และพี่แทนจะมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เกี่ยวกับความต่างของแต่ระบบวิชาในโรงเรียนกันค่ะ โดยหลักสูตรที่ popular ที่สุดในประเทศไทยคงจะหนีไม่พ้นหลักสูตรอังกฤษ ตามด้วยหลักสูตรอเมริกัน และ หลักสูตร IB ตามลำดับ ความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษานานาชาติ หลักสูตรอังกฤษ – หลักสูตรอเมริกัน – หลักสูตร IB พอจะเห็นภาพความแตกต่างของระบบการศึกษาต่างๆ กันแล้วใช่ไหมคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองที่กำลังเลือกโรงเรียนให้บุตรหลาน หรือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบโรงเรียนนานาชาติต่างๆ ควรจะศึกษาหลักสูตรที่เหมาะกับความถนัดและความต้องการในการเรียนต่อในอนาคตมากที่สุดค่ะ […]
Comments (0) -
Blog, SAT
รวมคำถามที่พบบ่อย การสมัครสอบ SAT ปี 2021
สวัสดีครับวันนี้พี่แอดมินพาพี่ภัทร์และพี่ข้าว #กูรูSAT มาเคลียร์ข้อสงสัยใน การสมัครสอบ SAT แบบใหม่ ที่จะใช้ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป เพื่อไม่ให้น้องๆ กังวลในการสมัครสอบ พวกเราเลยขอรวบรวมคำถามและปัญหาที่พบบ่อยๆ ไว้ที่นี่ที่เดียวกันไปเลย…พร้อมแล้วไปดูคำถามแรกสุดฮิตที่เป็นปัญหาของน้องๆ หลายคนจากพี่ภัทร์ กันก่อนเลยว่าเราควรสมัครสอบ SAT ที่ไหนถึงจะไม่โดนยกเลิก สมัครสอบ SAT ที่ไหนถึงจะไม่โดนยกเลิก by พี่ภัทร์ รวมคำถามที่พบบ่อย ในการสมัครสอบ SAT ปี 2021 Q : วิธีเปลี่ยนสนามสอบ SAT หลังจากที่สมัครทุกอย่างไปเรียบร้อยแล้ว A : เข้าไปที่ my sat > my registration> เลือกรอบที่ต้องการจะเปลี่ยน > กด I would like to…. > change registration (แต่ตอนนี้เหมือนระบบการเปลี่ยนสนามสอบจะเกิดขัดข้อง น้องๆอาจต้องลอง […]
Comments (0) -
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เตรียมตัวอย่างไรให้พิชิต BMAT Biology โดย ครูเคนจิ
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่น้องหมอทุกๆ คน พี่เคนจิ สอนวิชา BMAT Biology ให้ครับ ignite by OnDemand อยากมาแชร์เทคนิคที่หลายๆคนสงสัยว่าจะ เตรียมตัวทำข้อสอบ BMAT Biology ยังไง? ให้ทำได้ครบ ทำได้ทัน และมั่นใจในทุกคำตอบ พี่เคนจิ ได้ไกด์แนวทางในการเตรียมตัวให้น้องๆ ไว้แล้วเริ่มอ่านกันได้เลย เทคนิคเตรียมตัวสอบ BMAT Biology โดยครูเคนจิ 1. ทำความเข้าใจ specification ทำความเข้าใจ specification ให้ดีว่าเราต้องรู้อะไรบ้าง เพราะสิ่งที่เราต้องรู้ในแต่ละปีอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ใช้ตัว specification เป็น checklist ดูว่าเรารู้ทุกอย่างครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ข้อสอบจะชอบออกเนื้อหาใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้าไป 2. ทำโจทย์ BMAT เยอะๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับแนวคำถาม เพราะโจทย์ทั้งยาวและชอบดักทางเรา โดยการใช้คำที่มักทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่น only, could be กับ must […]
Comments (0)
Comments