รีวิวข้อสอบ CU-TEP Speaking รอบล่าสุด (3 กุมภาพันธ์ 2562)

สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่นิสิตรั้วจามจุรีทุกคน สำหรับน้องๆ ที่ตั้งใจจะเข้าคณะ BBA, EBA, แพทยศาสตร์, และทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การใช้คะแนน CU-TEP รวมทั้ง CU-TEP Speaking ก็เป็นอีกตัวเลือกคะแนนหมวดภาษาอังกฤษ ที่น้องๆ มักใช้ในการยื่นเข้าศึกษาต่อในคณะดังกล่าว
วันนี้ พี่แพททริค ignite by OnDemand จึงขออาสามารีวิวข้อสอบ CU-TEP Speaking รอบล่าสุด วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 พร้อมบอกเล่าเทคนิคอัพคะแนน เพื่อเป็นแนวทางให้น้องได้เตรียมตัวนำไปใช้ในการสอบจริงกันครับ
CU-TEP Speaking คืออะไร?

ข้อสอบ CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) เป็นข้อสอบวัดผลทักษะภาษาอังกฤษที่ออกแบบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมักนำคะแนนมาพิจารณารับเข้าศึกษาต่อทั้งระดับปริญาตรี โท และเอกของมหาวิทยาลัย ส่วน CU-TEP Speaking เป็นการวัดผลด้านทักษะการพูด ซึ่งไม่ได้เป็นการบังคับสอบ ขึ้นอยู่กับบางคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่รับพิจารณาคะแนนส่วนดังกล่าว ได้แก่ BBA, EBA, แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การสอบ CU-TEP Speaking จะต้องสมัครพร้อมการสอบ CU-TEP ปกติ มีค่าธรรมเนียมการสอบ 2,900 บาท กล่าวคือ ต้องสอบ CU-TEP พาร์ท Paper-based ในช่วงเช้า และสอบ CU-TEP Speaking ในช่วงบ่าย
สำหรับการสอบ CU-TEP Speaking ห้องสอบจะอยู่คนละฝั่งกับห้องสอบ CU-TEP แบบ Paper-based ตอนเช้า เดินไกลพอสมควร ต้องเผื่อเวลาทานข้าวกลางวันดีๆ อนุญาตให้เข้าห้องสอบเวลา 12:50 น. ประตูห้องสอบปิดเวลา 13:10 น. และเริ่มสอบจริงเวลา 13.30 น. ลักษณะการสอบคือนั่งสอบกับคอมพิวเตอร์ และอัดเสียงผ่านหูฟัง ที่นั่งสอบจะเป็น partition แยกของใครของมัน หูฟังขนาดพอดี สบายๆไม่เจ็บหู บนโต๊ะจะมีกระดาษและดินสอเตรียมเอาไว้ให้ ทั้งนี้ ผู้เข้าสอบห้ามนำเอาทุกอย่างเข้าไปในห้องสอบ
NOTE: น้องๆต้องฟังคำสั่งจากคนคุมสอบให้ดีว่าเราต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการเริ่มพูดต้องรอให้แถบสีเขียวขึ้นก่อน มิฉะนั้น บางส่วนที่เราพูดไปจะไม่ถูกอัดและทำให้เสียคะแนนได้
PART 1: Picture Discription (การบรรยายภาพ)

(ภาพข้างต้นเป็นภาพตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับภาพในการสอบจริงเท่านั้น)
การสอบ CU-TEP Speaking จะใช้เวลาสอบ 15 นาทีโดยประมาณ โดยการสอบจะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ทด้วยกัน
พาร์ทที่ 1 จะมีภาพจำนวน 6 ภาพ ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในการสอบแต่ละครั้ง รูปภาพจะมาในธีมเดียวกัน สำหรับการสอบรอบล่าสุดนี้ ภาพที่ปรากฏทั้งหมดเป็นภาพในธีมความสำเร็จ (Success) ภาพทั้ง 6 ภาพ ได้แก่ รูปคนถือกระเป๋าทำงาน, รูปหมวกรับปริญญา, รูปกระบวนการสร้างสิ่งประดิษฐ์แล้วได้รางวัล, การเติบโตของยอดขาย, การสร้างนวัตกรรม, และรูปความสำเร็จ (มี 4 รูปจาก 6 รูปที่เป็นภาพ Infographics)
อย่างไรก็ตาม ในพาร์ทนี้อาจจะมีความสับสนเล็กน้อย เพราะแต่ละภาพจะมีความละเอียดมาก และอาจตีความได้หลายแบบ เช่นอาจจะเป็นเรื่องความสำเร็จในแบบต่างๆ การไปถึงเป้าหมาย หรือจะมองว่า ทุกๆอย่างเป็นขั้นตอนการเรียนแล้วรับปริญญากับการทำงานเป็นความสำเร็จก็ได้
Note: น้องๆต้องหาความสัมพันธ์ของรูปภาพทั้งหมดให้ดี ว่าเราควรจะเริ่มจากรูปไหน ตรงไหน รูปไหนสามารถเข้ากลุ่มกับรูปไหนได้บ้าง แล้วค่อยๆพูดทีละรูปหรือทีละคู่ไป ไม่จำเป็นต้องพูดเรียงจากรูปที่ 1ไปถึงรูปสุดท้าย น้องๆอาจจะพูดในภาพรวมก่อนว่าภาพทั้งหมดสื่อถึงอะไร และจึงเริ่มอธิบายความสัมพันธ์ทีละรูป นอกจากนี้ พี่แพททริคแนะนำให้น้องๆพยายามพูดคำเชื่อมหรือ Transition ต่างๆ เช่น เพื่อบอกเหตุผล, บอกความขัดแย้ง, บอกลำดับขั้นและความสัมพันธ์ของภาพด้วย เช่น because, since, however, nevertheless, in addition, moreover, then, next, และ apart from that เป็นต้น
PART 2: Answer the Question (การตอบคำถาม)

สำหรับพาร์ทนี้จะเป็นการตอบคำถาม โดยคำถามนั้นจะเป็นคำถามที่ต่อเนื่องมาจากพาร์ทที่ 1 สำหรับการสอบครั้งนี้ เมื่อพาร์ทที่ 1เป็น ธีมความสำเร็จ (Success) คำถามในพาร์ทนี้จึงถามว่า “Do you agree that hard work would lead to success? And Luck has nothing to do with success.” หมายถึง “คุณเห็นด้วยหรือไม่ ว่าการทำงานหนักนำมาซึ่งความสำเร็จ และความโชคดีไม่ได้มีผลใดๆในการที่จะประสบความสำเร็จ”
ในการสอบพาร์ทนี้ Part นี้ พี่แพททริคคิดว่าเป็นพาร์ทที่น่าจะตอบง่ายที่สุดและทำคะแนนได้ดีที่สุด เพราะเป็นคำถามปลายเปิด น้องๆสามารถเลือกตอบในลักษณะไหนก็ได้ จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ ขอเพียงแค่น้องๆมีคำอธิบายคำตอบของตนเองหรือการยกตัวอย่างประกอบคำตอบ เป็นต้น อีกหนึ่งข้อดีของพาร์ทนี้ คือน้องๆยังพอมีเวลาในการจดโน๊ตและ เตรียมคำพูดให้ดีก่อนตอบ ต้องใช้เวลาในส่วนนั้นให้คุ้มค่าที่สุด อีกเทคนิคหนึ่งในการฆ่าเวลาเมื่อน้องๆคิดคำตอบไม่ออกแล้ว น้องๆอาจเล่าถึงประสบการณ์ตรงของน้องๆต่อหัวข้อนั้นๆ และเมื่อมันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้องเอง จะสามารถทำให้น้องๆพูดได้ยาวมากขึ้นด้วย เช่นน้องๆอาจจะเล่าถึงความสำเร็จที่ผ่านมาของน้องๆ หรือเล่าถึงที่มาของความสำเร็จนั้นๆก็ได้ครับ
Note: พี่แพททริคขอแนะนำให้น้องๆจดคำถามเอาไว้ด้วยตอนที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอเพราะพอแถบสีเขียวที่จะให้เริ่มพูดขึ้น คำถามจะหายไป อาจจะทำให้น้องๆลืมประเด็นที่ต้องพูดได้ครับผม
PART 3: Summary

มาถึงพาร์ทสุดท้ายกันแล้วนะครับ สำหรับพาร์ทที่ 3 เป็นการฟังแล้วสรุปความ จะมีวิดีโอให้น้องๆดูและฟัง ในวิดีโอจะเป็นการบรรยายอย่างเดียว มีความยาวประมาณหนึ่งเลยทีเดียว หลังจากวิดีโอจบ จะมีเวลาให้เตรียมตัว 45 วินาทีก่อนเริ่มพูดครับ รอบนี้เป็นการฟังเกี่ยวกับเรื่อง Success ประเภทต่างๆ เช่น academic success, career success, และ interpersonal success
สิ่งที่สำคัญสำหรับพาร์ทนี้คือ น้องๆต้องฟังให้เข้าใจว่า ผู้พูด พูดถึงเรื่องอะไร เช่น ใคร ทำอะไร ผลเป็นอย่างไร เป็นต้น ในขณะที่ฟัง น้องๆต้องจดไปตามลำดับคำที่ได้ยิน อาจจดเป็น Keyword เช่น ประธาน, กริยา, และส่วนขยายที่สำคัญ เพื่อให้ได้ประเด็นหลักๆ เพราะอย่างน้อย น้องๆก็สามารถนำคำเหล่านี้มาปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับเรื่องที่ได้ฟังได้ และอย่าลืมบริหารเวลาดีๆนะครับ ควรใช้เวลาที่ให้ในการเตรียมตัวเพื่อเรียบเรียงประเด็นแล้วค่อยๆพูดออกมาตามประเด็นที่เราแบ่งไว้ครับ
Note: พี่แพททริคขอแนะนำให้น้องๆเตรียมตัวกับการสอบไปดีๆ อาจจะมีตื่นเต้นบ้างเพราะเป็นการสอบกับคอมพิวเตอร์ถ้าน้องๆไม่ชิน ต้องตั้งสติและฟังคำสั่งจากกรรมการให้ชัดเจน อย่าไปสนใจเสียงคนข้างๆ ให้น้องๆคอยดูจากแถบสีเขียวบนหน้าจอของเราเองว่าเราต้องเริ่มพูดตอนไหนและหมดเวลาพูดตอนไหน เพราะตอนไปสอบ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเริ่มและจบไม่เท่ากัน พี่แพททริคขอให้น้องๆโฟกัสที่หน้าจอของตนเอง ไม่ใช่เริ่มพูดเพราะเพื่อนข้างๆพูด แต่ต้องรอจนกว่าแถบสีเขียว ของตัวเองจะปรากฏขึ้นนะครับ
ตารางคอร์สสด CU-TEP 2019

จบไปแล้วนะครับ สำหรับการรีวิวข้อสอบ CU-TEP SPEAKING รอบล่าสุดโดยพี่แพททริค หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆทุกคนไม่มากก็น้อย น้องๆสามารถนำโจทย์และเทคนิคที่พี่แพททริคแชร์ไปลองฝึกพูดให้คุ้นเคยกันได้นะครับ แอบกระซิบบอกว่าข้อสอบ CU-TEP SPEAKING บางครั้งวนเอาชุดที่เคยออกไปแล้วกลับมาสอบซ้ำใหม่นะครับ ถ้าได้เจอชุดนี้อีก ก็จะถือว่าโชคดีมากๆหากน้องๆได้เตรียมตัวไป
สำหรับน้องๆ ม.4- ม.6 ที่จะต้องใช้คะแนน CU-TEP รวมถึง CU-TEP SPEAKING ในการยื่นเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฝัน ข่าวดีคือ ดร.พี่กั๊ก และพี่แพททริคได้เปิดรอบคอร์สสด CU-TEP และ CU-TEP SPEAKING แล้วนะครับ ไม่ว่าจะในคอร์ส CU-TEP เริ่มเรียน 12 มีนาคม 2562 หรือ CU-TEP SPEAKING เริ่มเรียน 23 เมษายน 2562 ใน 2คอร์สนี้ น้องๆจะได้พบกับโจทย์ที่หลากหลายจำนวนมากให้ได้ลองฝึก รวมถึงยังได้เรียนรู้คำศัพท์และหลักไวยากรณ์อีกหลายๆเรื่องที่ดร.พี่กั๊กและพี่แพททริคทำการบ้านมาแล้วว่าออกบ่อย ออกชัวร์นะครับ และที่สำคัญ ทั้ง 2คอร์สนี้จะเน้นให้น้องๆได้ลองฝึกจากโจทย์เสมือนจริงให้มากที่สุด เพราะที่ ignite เราเชื่อใน “Learning by Doing” ครับผม แล้วมาเจอกันนะครับ
ส่วนน้องคนไหนที่สนใจจะเรียนคอร์ส Self สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/cu-tep/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, BMAT
คู่มือสำหรับพ่อแม่ อยากให้ลูกติดหมอ ตั้งแต่ TCAS รอบแรก ต้องใช้อะไรบ้าง
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ทุกที่อยากให้ลูกๆเป็นหมอทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะแพทย์ TCAS รอบ 1 หรือที่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านจะคุ้นหูกับคำว่า “แพทย์รอบ Portfolio” ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดรับ เช่น แพทย์จุฬาฯ แพทย์รามาฯ แพทย์ม.ขอนแก่น แพทย์ม.เชียงใหม่และอีกมากมายโดยวันนี้ ignite จะมาแนะนำข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่สอบติดหมอก่อนใครตั้งแต่ TCAS รอบแรก…ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย !! สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio ต้องใช้อะไรบ้าง GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม สิ่งที่จำเป็นต่อการ สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio อย่างแรกคือ GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม โดยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ใช้เกรดรวมทั้งหมด 4-5 เทอมด้วยกัน แต่จะมีเกณฑ์เกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละคณะ แต่ต้องเรียนคุณพ่อคุณแม่ว่าหากลูกของท่านมี GPAX ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป น้องๆ จะมีโอกาสในการยื่นเข้าคณะแพทย์รอบ 1 ได้ทุกมหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
-
Blog, GED
GED Math & Science สองวิชาสำคัญ ช่วยอัพ Total Score
สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกับพี่หมิง Ignite อีกครั้ง วันนี้พี่หมิงก็มีเรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GED มาฝากอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากใช้คะแนน GED เทียบวุฒิเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลายๆ คณะมักจะกำหนดคะแนนรวม (Total Score) ขั้นต่ำที่น้องๆ ต้องทำได้ถึงจะมีสิทธิ์ยื่นสมัครเข้าคณะนั้นๆ เช่น CU-TU กำหนดคะแนน GED ขั้นต่ำที่ 660 คะแนน, MUIC กำหนดที่ 600 คะแนน เป็นต้น ดังนั้น นอกจากน้องๆ จะโฟกัสที่การสอบรายวิชาแล้ว อีกเรื่องที่ต้องคำนึงคือคะแนนรวม และสองวิชาที่ครูหมิงขอบอกเลยว่าเป็นตัวช่วยดึงคะแนนรวมที่ดีมากๆ ให้กับน้องๆ ก็คือ GED Mathematical Reasoning และ GED Science ค่ะ ก่อนอื่นเรามาเจาะลึกดูรายละเอียดของแต่ละวิชากันก่อนนะคะ GED Mathematical Reasoning ข้อมูลที่ต้องรู้ GED Mathematical Reasoning 1.ข้อสอบมี […]
Comments (0)
-
Blog
เจาะลึก 2 วิชายาก IGCSE Chemistry & Biology กับครูเกมและครูเวิลด์
นับถอยหลังอีกเพียง 4 เดือนสู่การสอบ IGCSE รอบตุลาคมสำหรับน้องๆ ระบบการศึกษานานาชาติ การสอบครั้งนี้ถือว่าเป็นจุดสำคัญเลยทีเดียว เพราะน้องๆ ต้องนำคะแนนเหล่านี้ไปใช้ศึกษาต่อวิชาที่ต้องการในระดับ A-Level และอาจต้องใช้ยื่นควบคู่กันในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในอนาคตอีกด้วย วันนี้พี่ๆ Ignite เลยจะพาน้องๆ มาเจาะลึก 2 วิชายาก IGCSE Chemistry & Biology กับครูพี่เกมและครูพี่เวิลด์ ผู้ที่มีประสบการณ์แน่นในการสอนน้องๆ หลักสูตรอินเตอร์ เพื่อที่จะได้รีบเตรียมตัวคว้าคะแนน A* กันถ้วนหน้า เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า! เจาะลึกข้อสอบ IGCSE Chemistry จุดไหนยากสุด? ครูพี่เกมต้องขออธิบายก่อนว่า ก่อนที่เราจะเจาะลึกถึงความยากของ IGCSE Chemistry นั้น น้องๆ อาจจะต้องดูก่อนว่าข้อสอบที่น้องๆ จะเจอนั้นมาจากบอร์ดไหน CIE (Cambridge) หรือ Pearson Edexcel ถึงเเม้ว่าทั้ง 2 […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เหมือนไม่เหมือน เอาปากกามาวง เทียบให้ชัด CU-ATS VS ACT SCIENCE
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ทุกคน ตั้งแต่มีการยกเลิก SAT Subject Tests ไป พี่เชื่อว่าน้องๆ หลายคน ต้องวางแผนเส้นทางสู่คณะในฝันกันใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า ทั้ง CU-ATS และ ACT Science เป็นหนทางใหม่ในการพาน้องไปสู่จุดมุ่งหมาย แต่พี่เชื่อว่าคงมีหลายคนสงสัยว่า แล้วหน้าตาข้อสอบของ CU-ATS และ ACT Science เป็นอย่างไร แตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้ทั้งพี่อิ้งค์และพี่ก๊อฟ ขอมา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-ATS และ ACT Science จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS VS ACT Science อย่างแรก เรามาทำความรู้จักข้อสอบทั้ง 2 แบบก่อนนะครับ […]
Comments (0)
Comments