เตรียมตัวสอบ SAT โค้งสุดท้าย ทำยังไงให้ติด? BY P’Goft

ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงโค้งสุดท้ายของการสอบ SAT และ SAT Subject Test ของปีนี้ และเชื่อว่าน้องๆ หลายคนก็พยายามเตรียมตัวกันอย่างสุดขีด วันนี้พี่ก๊อฟจะมาแนะนำวิธีในการเตรียมตัวสอบเพื่อให้พิชิต คะแนน SAT ให้ได้สูงๆ โดยในการเตรียมตัวนั้นต้องมี “กลยุทธ์” และวางแผน เพราะว่าเวลาเหลือไม่มากแล้วดังนั้น น้องๆ จะต้องใช้เวลาอย่างมีคุณภาพมากที่สุดนะครับ
โดยขั้นตอนที่พี่ก๊อฟจะมาแนะนำมีดังนี้
1.คะแนนวิชาไหนคุ้ม ?
อย่างแรกที่น้องต้องพิจารณาเลย คือ วิชาไหนมีสัดส่วนมากที่สุดในการสอบเข้าคณะที่น้องต้องการ น้องหลายคนพยายามคิดแต่จะทำคะแนนในวิชาที่ตัวเองชอบ เพราะว่าอ่านแล้วเข้าสมองที่สุด โดยลืมนึกไปว่าวิชานั้นอาจจะไม่ใช่วิชาที่สำคัญที่สุด ดังนั้นอย่างแรกต้องดูก่อนเลยว่า วิชาไหนมีน้ำหนักที่มากที่สุด ไล่ไปจนถึงน้อยที่สุด
2. เปรียบเทียบคะแนน หาช่องว่างที่เพิ่มคะแนนได้
ในโค้งสุดท้ายนี้ พี่เชื่อว่าน้องทุกคนคงเริ่มมีคะแนนกันบ้างแล้ว หากน้องๆลองแจกแจงคะแนนออกมา จะช่วยให้น้องเห็นภาพรวมว่ายังมีวิชาไหนที่เรายังมีโอกาสขยับคะแนนให้สูงขึ้นได้อีก ถ้าให้พี่แนะนำ น้องๆควรเน้นไปที่วิชานั้นก่อน มีหลายคนตกม้าตาย เพราะมัวเสียเวลากับวิชาที่สามารถทำคะแนนได้สูงอยู่แล้ว เช่น ได้คะแนน SAT MATH 730 แต่คิดว่าตัวเองสามารถไปถึง 800 ได้ โดยที่คะแนน SAT Physic ยังอยู่ที่ 680 แบบนี้เป็นการเตรียมตัวที่ไม่มีกลยุทธ์และใช้ความรู้สึกมากเกินไป น้องๆต้องตัดเอาความรู้สึกส่วนตัวออกและเริ่มใช้การวิเคราะห์มากขึ้นนะครับ
3. เรียงความสำคัญของแต่ละวิชา
พี่มีหลักการเรียงความสำคัญของแต่ละวิชาได้ง่ายๆ คือ
ต้องเป็นวิชาที่ น้ำหนักถ่วงเยอะ และ เรายังได้คะแนนน้อย
หลังจากนั้นก็เรียงมา
4. วางแผนให้ดีว่า จะเก็บอะไรก่อน
อันนี้เป็นปัญหาของหลายคนมากๆว่า พี่ครับผมควรทุ่มเก็บวิชา ถึง สองวิชา ในรอบ พฤศจิกายน แล้วมาเก็บอีก 2 วิชา ในช่วงธันวาคม ดี หรือ ว่าควรอ่านทุกอย่างหมดเลยแล้วลุยทุกรอบดี
คำถามนี้ตอบยากมากครับ เพราะว่าแต่ละคนรับความหนักได้ไม่เท่ากัน แต่จากประสบการณ์ของพี่การทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ประสิทธิภาพจะลดลงแน่นอน ดังนั้น ถ้าน้องไม่ได้มั่นใจในความรู้ของตัวเองมากๆจริงๆ พี่ขอแนะนำให้กระจายและ focus เป็นรอบๆอย่าพยายามจะเอาทุกวิชาในรอบเดียว เพราะมันจะฉุดกันไปหมดครับ

5. ซื้อหนังสือโจทย์ของ College board ทำโจทย์แบบจริงจัง และไม่ต้องจับเวลา 1 ชุด
ที่พี่แนะนำให้ทำแบบนี้เพราะคะแนนสอบของเราที่ไปสอบมาไม่มีแบ่งบทครับ และข้อสอบที่ college board ออกมาเป็นหนังสือ (ไปซื้อใน Kinokuniya ได้นะครับ) นั้นเป็นข้อสอบที่เคยออกจริงครับ ความใกล้เคียงจะมีสูงมากนะครับ และน้องๆควรจะทำและดูว่าบทไหนที่เรายังอ่อน คำว่าอ่อน คือ ผิดแบบว่าข้ามไปเลย คิดไม่ออก อ่านแล้วไม่รู้ว่าทำยังไง แบบนี้เรียกว่าอ่อน ให้น้อง mark ไว้ในหนังสือเลยครับ แล้วบทนั้นจะเป็นบทที่เราต้องเน้นครับในการทำ (ขอร้องน้องๆทุกคนว่าอย่าหลอกตัวเองนะครับ บางทีเราทำแบบฝึกหัดแล้วเรามั่วแล้วถูก แล้วเราก็คิดว่าเราทำเรื่องนี้ได้ พี่ขอให้น้องซื่อสัตย์กับตัวเองว่าเราทำอะไรได้อะไรไม่ได้นะครับ)
6. List แต่ละวิชาว่า บทไหนออกเยอะ และ เราได้คะแนนน้อย
สำหรับบทที่ออกเยอะๆ น้องสามารถดูได้จากปริมาณที่มีการเผยแพร่ใน website หรือถ้าใครเรียนกับพี่ๆอยู่แล้วก็พอจะทราบกันว่าบทไหนออกเยอะ ดังนั้น list แต่ละวิชา พร้อมบอกปริมาณที่ออก หลังจากนั้น เอาบทที่เราทำไม่ค่อยได้จากข้อสอบที่ลองทำ มา mark ไว้ให้หมดทุกวิชา ทุกบทนะครับ
7. แต่ละวิชา เน้นบทที่เป็นจุดอ่อนก่อน
เมื่อรู้แล้วว่าบทไหนออกเยอะ แต่เราทำได้น้อย ให้เร่งมือทำเลยครับเน้นอ่านบทนั้นก่อนและเวลาอ่านให้อ่านจบเป็นบทๆอย่าข้ามไปมานะครับควรอ่านให้เกิดความต่อเนื่องและเข้าใจจริงๆ
8. ทำ “สมุดแห่งความผิด” จดทุกข้อที่ทำไม่ได้แยกเล่มออกมา
หลายครั้งหลายหน น้องๆทำข้อสอบแล้วผิด พอเปิดเฉลยปุ๊ป เริ่มเข้าใจแล้วน้องจะไม่ยอมจดข้อผิดพลาดของตัวเอง พี่ขอย้ำเลยว่า ต้องทำครับ โดยปกติมนุษย์เรา จะชอบผิดพลาดเรื่องเดิมๆ ดังนั้นแล้วต้องมีสมุดจดเรื่องความผิดพลาดของเรา แยกเล่มเป็นวิชาๆ ไว้เลยครับ
ข้อดีอีกอย่างของ “สมุดแห่งความผิด” คือ เวลาใกล้สอบแล้วมาอ่านทวนจะได้อ่านจากเฉพาะที่เราผิด ไม่ต้องไล่อ่านทั้งหมดเพราะก่อนสอบวัน ถึงสองวันเราไม่อาจจะสามารถทวนทั้งหมดได้
9. อ่านเป็นบท แล้วข้ามวิชา แล้วกลับมาอ่านวิชาเดิมใหม่
เป็นคำถามที่หลายคนถามเข้ามาเยอะมาก ในฐานะที่พี่เป็นนักจิตวิทยา (น้องหลายคนทราบดี) การอ่านเพื่อไปสอบแข่งขันแบบนี้นั้นจะต้องอาศัยกระบวนการความจำที่เป็น long term memory ซึ่งคือจะมีความติดทนนานและไม่หายไปง่ายๆ ที่นี้โดยหลักการของ long term memory เนี่ยนะครับ มีงานวิจัยมาหลายสิบปีว่า อะไรเป็นปัจจัยสำหรับ long term memory ก็ปรากฏว่า สิ่งที่สำคัญ คือ การ retrieval หรือ การทำซ้ำนั่นเอง เช่นการอ่านซ้ำ การดูซ้ำ แต่นอกจากนี้เขาก็มีการทดลองเพิ่มเข้าไปอีกว่า ทำซ้ำเนี่ย ควรจะทำอย่างไร การทำซ้ำที่ดี จะต้องเป็นการทำซ้ำโดยแบ่งช่วงเวลา ไม่ใช่ทำซ้ำในคราวเดียว มีงานวิจัยที่น่าสนใจ เขาแบ่งคนเป็น สองกลุ่ม
กลุ่มแรก ให้จำศัพท์ยาก 20 คำ ให้จำ 5 รอบ รอบละ 10 นาที แต่ว่าแต่ละรอบห่างกัน 1 ชั่วโมง
กลุ่มสอง ให้ศัพท์ยาก 20 คำ ให้จำ 5 รอบ รอบละ 10 นาที แต่ให้จำวันละ 1 รอบ
ผลปรากฏว่า พอผ่านไป 1 สัปดาห์ หลังการจำรอบสุดท้าย ปรากฏว่ากลุ่มที่สอง สามารถจำศัพท์ยาก ได้มากกว่าถึง 50%
ซึ่งหมายความว่า การแบ่งช่วงเวลาในการดึงความจำเป็นสิ่งสำคัญ เคยเป็นไหม เวลาอ่านวิชานึงไป สองอาทิตย์ แล้ว พอมาอ่านวิชาใหม่อีกอาทิตย์นึง ของเก่าลืมหมดแล้ว เพราะว่าเราอัดมันเกินไป เกิดความไม่สม่ำเสมอ และไม่เกิดการดึงข้อมูลมาใช้ ดังนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าการทำงานของสมองเราเป็นอย่างไร พี่ขอแนะนำให้อ่านสลับกันไปมาโดยแบ่งเป็นบทๆแต่ละวิชาแล้วอ่านสลับไปมา แล้วพอเวลาจะเริ่มกลับมาอ่านวิชาเดิมให้เพื่อเวลาทวนสัก 10 -15 นาที เพื่อให้เรียกความจำเดิมกลับคืนมานะครับ

10. หาตัวช่วยให้มีสมาธิ
และนี่เป็นสิ่งน้องๆหลายคนกลัวกันมากๆเลยในช่วงใกล้สอบ คือ เรื่อง สมาธิ เพราะน้องๆเกิดมาในยุค ที่มีการ distraction ได้ง่าย จากการมาของ social network ดังนั้นอาจจะต้องใช้ตัวช่วยในการจัดการ เช่น FocusNow เป็น app ที่ให้เราสามารถตั้งเวลาว่าเราจะละจากมือถือ กี่นาที และถ้าเราละเมิด มันจะทำให้ต้นไม้ใน app เหี่ยวเฉา ให้พยายามเปรียบเปรย เป็นอนาคตของพวกเราจะได้มีกำลังใจในการสู้นะครับ
11. ความเครียดและความกลัวเป็นสิ่งที่ดี
อันนี้เป็นหลักการจิตวิทยาที่แล้ว แต่ต้องมาสอนน้องๆทุกคนนะครับ หลายคนพออ่านหนังสือไป แล้วเกิดความรู้สึกเครียดนิดๆ หลังจากนั้นก็เกิดอาการ วีนแตก ฉันไม่อยากเครียดไม่อ่านแล้วเว้ย เทให้หมด
ขอให้น้องมีสติและใจเย็นนะครับ พี่ในฐานะที่เรียนจิตวิทยาอยากจะบอกกับน้องๆ ว่า ความเครียดและความกลัว ถ้ามีอย่างพอเหมาะ จะเป็นสิ่งที่ดี และน้องทุกคนควรจะมีในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ด้วยครับ เพราะมันจะสร้างแรงกระตุ้นให้เราพยายามทำให้เต็มที่ที่สุด เพราฉะนั้นอย่าหวาดกลัวกับความเครียด และความกลัวนะครับ
“Be positive with stress, then you will not be stressed.”
12. กินให้เยอะและมีพลังงาน
น้องๆคนไหนที่ห่วงสวย จุดนี้ต้องขอให้น้องๆทุกคนปล่อยวางเรื่องนี้ไว้ก่อนและตั้งใจเน้นไปที่การสอบก่อนนะครับ เรื่องลดความอ้วนค่อยว่ากัน
สุดท้ายนี้พี่ก็ขอให้ทุกคนโชคดีกับการสอบ และพยายามให้เต็มที่ที่สุด นะครับ พี่เคยบอกน้องหลายๆคนในห้องว่า “ รู้อะไรไม่สู้เท่า “รู้งี้” ” ไม่อยากให้น้องๆเกิดความรู้สึกที่ว่า รู้งี้ ตอนนั้นพยายามมากกว่านี้ดีกว่า
สู้ๆนะครับทุกคน
พี่ก๊อฟ

สำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากเตรียมตัวก่อนสอบกับพี่ก๊อฟ สามารถมาเจอกันได้ในคอร์ส SAT Subject test Chemistry คอร์สทบทวนเนื้อหา ครอบคลุมทุกบทที่ออกสอบ พร้อมเทคนิคในการทำข้อสอบ และเมื่อเรียนเนื้อหาจนเข้าใจแล้วอยากฝึกทำโจทย์ พี่ก๊อฟก็มีคอร์ส Advanced SAT Subject test Chemistry เน้นตะลุยโจทย์ฝึกจับเวลาเสมือนจริง เพื่อพิชิต 800 คะแนนเต็ม กันทุกคนนะครับ
ดูข้อมูลคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/sat-subject-test/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
รีวิวสอบเข้า ISE จุฬาฯ ด้วย SAT Subject Tests จากน้องโน้ต กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีน้องๆ ที่อยากสอบเข้า ISE หรือ คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ ทุกคนนะครับ!! วันนี้พี่แอดมินพาพี่โน้ต รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด ISE จุฬาฯ ปีล่าสุด มารีวิวการสอบเข้าวิศวะอินเตอร์ ด้วยคะแนน SAT Subject Tests เพื่อให้น้องๆ ได้ทราบว่าข้อสอบแต่ละวิชามีความยากง่ายอย่างไร ควรเตรียมตัววิชาไหนก่อนและเคล็ดลับการสอบติดจากพี่โน้ต เพื่อให้น้องๆ ทุกคนใช้เป็นแนวทางการเตรียมตัวได้อย่างถูกต้องนะครับ เคล็ดลับเตรียมตัวให้สอบติด ISE จุฬาฯ สำหรับพี่คิดว่าการเริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE ตอน ม.5 เทอม 1 เป็นการเริ่มต้นที่ดีนะครับ ไม่ช้าเกินไป ยังพอมีเวลาเหลือให้เราสามารถไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้อีกด้วย ถ้าเริ่มต้นเตรียมตัวตอน ม.6 อาจจะทำให้เราเหนื่อยจนไม่ค่อยมีเวลาไปทำอย่างอื่นและถ้ายังไม่ได้คะแนนที่ต้องการในรอบแรก ก็จะมีเวลาแก้ตัวน้อยลงอีกด้วยนะครับ ยิ่งถ้าน้องๆ รู้ตัวและตั้งป้าหมายว่าจะเข้า ISE ตั้งแต่ ม.4 ยิ่งจะทำให้เราเตรียมตัวได้ไว เผลอๆ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
สรุปทางเลือกเมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิก วิชาไหนบ้างที่ยื่นแทนได้?
เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศเลยทีเดียวสำหรับน้องๆ มัธยมที่อยากเข้าคณะอินเตอร์ เมื่อ College board ประกาศว่าต่อไปจะไม่มี Sat Subject test อีกแล้ว น้องๆ หลายคนที่วางแผนไว้ว่าจะสอบในอนาคตตอนนี้คงมีคำถามในใจกันเต็มไปหมด ว่า อ้าว แล้วคณะที่เราอยากเข้าจะทำยังไงละ มันจะส่งผลอะไรยังไงกับเราแค่ไหน ignite ก็เลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเสนอแนวทางในการหาวิชาสอบทดแทนสำหรับน้องๆ ที่ยังมุ่งมั่นว่าจะเข้าคณะอินเตอร์ หรือ หมอในไทย โดยต้องบอกว่าสถานการณ์ตอนนี้ น้องๆ อินเตอร์อาจจะได้เปรียบกว่านิดหน่อย เพราะหลายคณะยังคงรับการยื่นคะแนน IB, A-Level ที่น้องๆ โรงเรียนนานาชาติต้องสอบกันในโรงเรียนอยู่แล้ว แต่น้องๆ ภาคไทยอย่าเพิ่งน้อยใจกันไป เพราะบางคณะยังคงเปิดให้ยื่นวิชาอื่นแทนด้วย จะเป็นอะไรนั้นตามดูกันได้เลยครับ เมื่อ SAT Subject test ยกเลิก เราจะใช้วิชาไหนสอบแทนได้บ้าง มาดูกันเลย ! #ทีมเด็กไทย เริ่มกันก่อนกับคณะยอดฮิต […]
Comments (0)
-
Blog, BMAT
ถอดรหัสข้อสอบ BMAT ตาม Specification 2021
สวัสดีครับว่าที่น้องหมอทุกๆ คน สำหรับปีนี้ทาง Cambridge Assessment ได้ประกาศอัพเดท BMAT Specification ปี 2021 มาแล้ว ทางทีมครู ignite ไม่รอช้า ขอมาเล่าสรุปให้น้องๆ ฟังกันครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม แอบบอกข่าวดีกับน้องๆ ก่อนครับว่าปีนี้โครงสร้างและหัวข้อที่ออกสอบใน BMAT โดยส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับ BMAT Specification ปีที่แล้วเลยครับผม และไม่ต้องกังวลไปเลยครับ สำหรับในส่วนที่ต่าง ทางคุณครู ignite ก็จะอัพเดทในคอร์สเรียนของปีนี้ด้วยครับ ทำความรู้จักโครงสร้างข้อสอบ BMAT ก่อนอื่น เรามาทบทวนโครงสร้างข้อสอบ BMAT กันอีกครั้งครับ ข้อสอบ BMAT ยังคงมีทั้งหมด 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1. Thinking Skills, 2. Scientific Knowledge […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
คุณพ่อคุณแม่ห้ามพลาด! พี่โน้ตชวนดูเปิดหลักสูตร Math EP ม.ต้น เรียนเนื้อหาอะไรบ้าง?
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ทุกคนนะครับ พี่โน๊ต จาก ignite เองนะครับ ในปัจจุบันยุคนี้ พี่เชื่อว่ามีผู้ปกครองหลายๆท่าน ได้เริ่มวางแผนการเรียนของลูกตั้งแต่ระดับประถม มัธยม เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดและวางเส้นทางให้น้องๆ ไปถึงฝั่งฝัน และเชื่อว่า โครงการ EP หรือหลักสูตร English Program เป็นอีก 1 หลักสูตรที่ผู้ปกครองหลายท่านให้ความสนใจ แต่หลายๆ ท่านคงยังมีข้อสงสัยไม่น้อยว่าจริงๆ แล้ว หลักสูตรนี้มันคืออะไร? และในแต่ละวิชาต้องเรียนเนื้อหาอะไรบ้าง? วันนี้พี่โน๊ตจะมากาง syllabus วิชาคณิตศาสตร์ Math หลักสูตร EP ว่าในแต่ละระดับชั้น ม.1-ม.3 ต้องเรียนอะไรบ้าง? เพื่อช่วยตอบทุกข้อสงสัยก่อนที่ผู้ปกครองจะวางแผนการเรียนให้กับลูกๆ นะครับ ทำความรู้จักกับหลักสูตร English Program (EP) หลักสูตร EP หรือ English Program คือ หลักสูตรที่มุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนและสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยนักเรียนในหลักสูตรนี้จะเรียนภาษาอังกฤษที่เข้มข้นกว่าภาคปกติ สำหรับหลักสูตร EP นอกจากจะเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากกว่าหลักสูตรไทยปกติแล้ว ยังเรียนบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษด้วย เช่น […]
Comments (0)
Comments