พิชิตข้อสอบ BMAT Physics กับ Topics ที่หลักสูตรไทยไม่ครอบคลุมจากพี่เกรท

พิชิตข้อสอบ BMAT PHYSICS กับ TOPICS ที่หลักสูตรไทยไม่ครอบคลุมจากพี่เกรท
สวัสดีน้องๆ ที่อยากเป็นหมอทุกคนนะครับ วันนี้พี่เกรทมีเทคนิคพิชิต ข้อสอบ BMAT Physics กับ Topics สำคัญที่หลักสูตรไทยไม่ค่อยเน้นหรือไม่พูดถึง เพื่อให้น้องทุกคนได้ทบทวนความรู้ที่จะใช้ในการสอบ BMAT รอบเดือนตุลาคมที่กำลังจะมาถึง และสำหรับเทคนิคสำคัญที่พี่จะมาแนะนำในวันนี้มี Highlights ดังนี้เลยครับ
Highlights
- BMAT Part 2: พลาดแค่ 2-3 ข้อ จากรอดอาจเป็นร่วง
- เทคนิค Skip the BS: วิเคราะห์โจทย์ 1 หน้ากระดาษให้ทันใน 1 นาที
- BMAT Physics: มีหลายหัวข้อที่หลักสูตรไทยไม่ครอบคลุม
- Special: เฉลยวิธีทำข้อสอบปีล่าสุด (2017)
น้องๆ ที่อยากเป็นหมอในยุค TCAS รอบ 1 ต้องเคยได้ยินกิตติศัพท์ของข้อสอบเข้าแพทย์สัญชาติอังกฤษอย่าง BioMedical Admission Test หรือ BMAT (บีแมท) โดยเฉพาะ Part 1 (Aptitude and Skills) ที่ว่าโหดแสนโหด แต่ Part 2 (Scientific Knowledge) หรือพาร์ท “วิทย์ + คณิต” ก็ถือเป็นพาร์ท “ปราบเซียน” ของใครหลายคนเหมือนกัน เพราะว่า
- ข้อสอบ Part 2 มี 27 ข้อ คิดเป็น 9 คะแนนเต็ม ถ้าน้องพลาดไป 1 ข้อ จะหายไป 0.33 คะแนน ดังนั้นถ้าพลาด 2-3 ข้อ คะแนน 6 up ที่น้องควรได้ ก็จะร่วงเหลือแค่ 5 (หรือลดลงไปถึง 4) ซึ่งสามารถชี้เป็นชี้ตายการเข้าคณะที่น้องๆต้องการได้เลยทีเดียว
- มีเวลาทำแค่ 30 นาที แปลว่า 1 ข้อใช้เวลาได้ประมาณ 1 นาที แต่โจทย์หลายๆข้อ มีความยาว 1 หน้ากระดาษ (แค่อ่านโจทย์ก็ไม่ทันแล้ว!) ถึงแม้ว่าความรู้วิชาการจะแน่น แต่ถ้าขาดกลยุทธ์ในการทำข้อสอบก็เสี่ยงครับ
- เนื่องจากเป็นข้อสอบของประเทศอังกฤษ เลยทำให้มีหลาย topics ที่หลักสูตรไทยไม่เน้นหรือไม่พูดถึง ทำให้น้องๆ ที่เรียนภาคไทยมา อาจไม่สามารถทำข้อง่ายๆบางข้อ เพราะไม่เคยเรียนมาก่อน
พอรู้แบบนี้แล้ว หลายคนอาจกลัวข้อสอบ BMAT Part 2 แต่จากประสบการณ์ของพี่ มีน้องๆ หลายคนที่ทำคะแนนได้เกิน 7 แม้ไม่ได้เทพวิทย์คณิต (หรือเต็ม 9 ก็มีมาแล้ว!) ขอเพียงแค่มีเทคนิคในการเตรียมตัวและทำข้อสอบที่ถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้พี่จะแนะนำ “เทคนิค Skip the BS” ที่จะทำให้น้องทำโจทย์ทัน และพูดถึง topics ที่น้องต้องอ่านเพิ่มเพื่อเตรียมสอบ BMAT Physics ให้ได้ครอบคลุม
ทำข้อสอบ BMAT PHYSICS ด้วยเทคนิค SKIP THE BS “ทำข้อสอบโจทย์ยาว 1 หน้าใน 1 นาที”
ลองดูแนว ข้อสอบ BMAT Physics (เสมือน)จริงข้อนี้ [ ข้อสอบจริงมีลิขสิทธิ์ แต่ข้อนี้ใกล้เคียงข้อที่ 3 ของปี 2016 ]

จะเห็นว่า แค่อ่าน paragraph แรกให้จบและเข้าใจโจทย์ น้องหลายคนก็ใช้เวลาไปเกือบ 2 นาทีแล้ว! แต่ความจริงข้อนี้มีเทคนิคที่จะทำให้ได้คำตอบภายในเวลาไม่ถึง 45 วินาที (บางคนใช้เวลาแค่ 30 วินาทีก็ทำข้อนี้เสร็จแล้ว) ซึ่งน้องๆ ในคอร์ส BMAT Physics ที่พี่สอน จะรู้จักเทคนิคนี้ดีในนาม Skip the BS โดย BS ย่อมาจาก Bullshit ที่เป็น slang ของฝรั่ง คือข้อมูลที่ให้มาแต่ไร้ประโยชน์ อย่างในที่นี้ เราสามารถเข้าใจและทำโจทย์ข้อนี้ได้ แม้ไม่ได้อ่านทั้ง paragraph ไม่เชื่อ ลองทำข้อนี้ใน version ข้างล่างดูครับ

ในข้อนี้โจทย์ต้องการแค่ความหนาแน่น (density) ซึ่งจากรูป ก็ชัดเจนว่าคือของก้อนกลมๆ เราก็แค่เอามวลของ 1 ก้อน (230 g) หารด้วยปริมาตรของ 1 ก้อน (60 cm3) ก็จะได้คำตอบง่ายดายคือข้อ F ครับ

เห็นไหมครับ เพียงเรา Skip สิ่งที่เป็น Bullshit ของโจทย์แล้วตรงไปยังสิ่งที่โจทย์ถามก็ประหยัดเวลาขึ้นเยอะเลย ดังนั้นเวลาน้องทำโจทย์ BMAT Part 2 ให้น้องทำตาม 3 Steps ดังนี้ครับ

3 STEPS ทำข้อสอบ BMAT : 1 หน้าใน 1 นาที
Skip The BS: มุ่งไปยังประโยคคำถาม เพื่อให้รู้สิ่งที่โจทย์ต้องการ
Scan: ค้นข้อมูล เพื่อใช้หาสิ่งที่โจทย์ถาม เช่น รูปภาพ ตัวแปร ตัวเลข
Solve: มองหาสิ่งที่โจทย์ถามด้วยข้อมูลที่ค้นมา
หากน้องฝึกทำข้อสอบเก่าย้อนหลังด้วยเทคนิคนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้น้องทำ ข้อสอบ BMAT Part 2 ได้ทันและเก็บคะแนนได้เยอะครับ ลองดูนะครับ
รวม TOPICS ข้อสอบ BMAT PHYSICS ที่หลักสูตรไทยไม่พูดถึงหรือไม่เน้น
ต่อไปนี้คือหัวข้อใน ข้อสอบ BMAT Physics ที่หลักสูตรไทยไม่พูดถึงหรือไม่เน้นครับ (หัวข้ออ้างอิงจากเอกสาร Official BMAT Test Specification)
- Applications to crumple zones and road safety – stopping distances
- Uses and dangers of electrostatics (paint spraying, dust extraction)
- V-I graph for a filament lamp
- Ultrasound and Uses
- Applications and dangers of electromagnetic waves
- Factors affecting rate of conduction, convection and radiation
- Penetrating and ionising abilities of alpha, beta and gamma particles
- Background radiation – existence and origins
- Applications, dangers and hazards of ionising radiation
ซึ่งบางหัวข้อ น้องสามารถหาอ่านได้ทั่วไป เช่น Applications and dangers of electromagnetic waves อ่านได้จากเว็บไซต์ของ BBC Bitesize GCSE แต่บางหัวข้อต้องผ่านการฝึกทำโจทย์มาด้วย เช่นข้อนี้ (ข้อ 11 ของปี 2009

ข้อนี้ต้องรู้ว่า อนุภาค alpha, beta และ gamma นั้นมีอำนาจทะลุทะลวงในอากาศได้ระยะเท่าไหร่ (alpha ได้ไม่กี่เซนติเมตร, beta ได้ตั้งแต่เกือบๆ เมตรถึงสองสามเมตร, gamma ได้หลายเมตร) และต้องรู้ว่า detector 2 ตรวจเจอสิ่งที่เรียกว่า background radiation หรือรังสีพื้นหลังที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งต้องหักลบออกก่อนที่จะคำนวณ half-life ของสารกัมมันตรังสีที่สนใจ (คลิกดูวีดีโอเฉลยด้านล่างครับ)
จะเห็นได้ว่า ข้อสอบ BMAT Physics นั้นก็มีบางข้อที่ต้องใช้ความรู้นอกเหนือจากหลักสูตรไทย แต่ไม่ต้องห่วงครับ ในคอร์ส Intensive course for BMAT Physics ที่พี่สอน พี่ได้สอนเนื้อหาครอบคลุมครบทั้งหมดที่ BMAT ออกข้อสอบพร้อมโจทย์แบบฝึกหัดเพิ่มเติมแล้วครับ
เทคนิคการเตรียมตัวสอบ พิถีพิถันกับโจทย์ทุกข้อ!
ใน 27 ข้อของข้อสอบ BMAT Part 2 จะมีโจทย์ฟิสิกส์ประมาณ 7-8 ข้อ สมมติถ้ามี 2 ข้อที่ง่ายแต่นอกเหนือหลักสูตรไทยแล้วน้องไม่ได้เตรียมตัวมา และมีอีก 1 ข้อที่ยากแล้วน้องไม่ได้ฝึกโจทย์ยากๆ มาก่อน … แปลว่า คะแนนน้องอาจจะลดจาก 6.0 เหลือ 5.0 ได้เลยนะ แต่ถ้ามองมุมกลับ คือน้องเตรียมตัวมาครบถ้วน อย่างพิถีพิถัน คือ “เก็บทุกเม็ด” ทั้งง่ายและยาก พร้อมฝึกเทคนิคการทำข้อสอบให้ทันมาอย่างหนักหน่วง น้องก็สามารถทำคะแนนให้สูงได้ แม้น้องอาจไม่ใช่คนที่เก่งวิทย์คณิตมาก่อนครับ
พี่เชื่อในความพยายามครับ ถ้าเราทุ่มเทให้กับสิ่งๆหนึ่ง ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและมีโค้ชที่ดี เราจะสามารถพัฒนาตนเองจนเก่งได้ในที่สุด ดังนั้น อย่าลืมอ่านและฝึกฝนทำโจทย์เยอะๆนะครับ โชคดีที่ทาง Cambridge ได้ปล่อยข้อสอบ BMAT ย้อนหลังให้พวกเราได้ฝึกกัน (เพียง Search Google ว่า “BMAT past papers”) น้องอย่าลืมไปฝึกกันให้ครบนะครับ และหากน้องสนใจที่จะเรียนและฝึก BMAT Physics สำหรับสอบหมอ TCAS รอบ 1 กับพี่เกรทที่ ignite by OnDemand ก็สามารถมาเจอพี่ได้ในคอร์ส Intensive course for BMAT Physics ครับ…พี่เกรทรอน้องๆทุกคนอยู่นะครับ

โดยในคอร์สนี้น้องจะได้
- เรียนครบทุกบทที่ออกข้อสอบ รวมถึงบทที่นอกเหนือหลักสูตรไทย เช่น background radiation, V-I graph for a filament lamp เป็นต้น
- ฝึกโจทย์จากแนวข้อสอบใกล้เคียงของจริงมากที่สุดกว่าร้อยข้อที่หาไม่ได้จากที่อื่น
- เทคนิค Supermap X ที่ช่วยให้น้องสามารถจำสูตรฟิสิกส์ได้และวิเคราะห์โจทย์ได้อย่างเห็นภาพ
- EXCLUSIVE!!! คลิปวีดีโอเฉลยวิธีทำข้อสอบย้อนหลังครบทุกปีตั้งแต่ปี 2003 – 2017 (ส่วน 2018 จะรีบตามมาเมื่อ Cambridge ปล่อยข้อสอบอย่างเป็นทางการ)
- NEW!!! ตำราพูดได้ น้องสามารถ Scan QR Code ในตำราเพื่อดูสรุป SupermapX แบบวีดีโอ ครบทั้ง 6 Chapters ได้ทุกที่ ทุกเวลา
- เรียนกับพี่เกรท อดีตเหรียญเงินฟิสิกส์โอลิมปิกระดับโลก จบ pure physics จาก Stanford University, USA (GPA 3.99 with Distinction) พร้อมประสบการณ์สอนกว่า 4 ปี
น้องๆสามารถดูรายละเอียดคอร์สได้ทาง: https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/
และสามารถสมัครคอร์ส-สอบถามรายละเอียดคอร์สเพิ่มเติมได้ที่ Line@: @ignitebyondemand
พิเศษ! รับไปเลย…เฉลยข้อสอบ BMAT PART 2 วิชา PHYSICS ปี 2017 โดยพี่เกรท
Clip เฉลยข้อสอบ BMAT Part 2 วิชา Physics ปี 2017 โดยพี่เกรท: น้องๆสามารถ Download ข้อสอบจริงของ Official ได้ที่ >> https://www.admissionstesting.org/for-test-takers/bmat/preparing-for-bmat/practice-papers/
สำหรับน้องๆที่กำลังอ่านบทความของพี่เกรทอยู่ พี่แนะนำบทความ >> รีวิวข้อสอบ BMAT Part 1 พร้อมเทคนิคจากพี่กั๊กและพี่ภัทร์ ที่มาเจาะลึกข้อสอบ BMAT Part 1 ให้น้องๆก่อนสอบ และบทความ >> รีวิวข้อสอบ BMAT Chemistry พร้อมเทคนิคจากพี่ก๊อฟ ที่จะทำให้น้องๆมั่นใจในการทำข้อสอบ BMAT Part 2 ได้ครบทุกวิชาพร้อมเทคนิคอ่านโจทย์เพื่อทำข้อสอบ Speed test ต้องรีบคลิกไปอ่านเลยนะครับ เพราะการที่พวกเราจะได้คะแนน BMAT ที่ดีต้องมีความเข้าใจข้อสอบทุกพาร์ท ดังนั้นน้องต้องหมั่นทำข้อสอบ และเก็บเกี่ยวเทคนิคการทำข้อสอบให้พร้อมกับโจทย์ทุกวิชามากที่สุดนะครับ
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
ถอดรหัสข้อสอบ BMAT ตาม Specification 2021
สวัสดีครับว่าที่น้องหมอทุกๆ คน สำหรับปีนี้ทาง Cambridge Assessment ได้ประกาศอัพเดท BMAT Specification ปี 2021 มาแล้ว ทางทีมครู ignite ไม่รอช้า ขอมาเล่าสรุปให้น้องๆ ฟังกันครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม แอบบอกข่าวดีกับน้องๆ ก่อนครับว่าปีนี้โครงสร้างและหัวข้อที่ออกสอบใน BMAT โดยส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับ BMAT Specification ปีที่แล้วเลยครับผม และไม่ต้องกังวลไปเลยครับ สำหรับในส่วนที่ต่าง ทางคุณครู ignite ก็จะอัพเดทในคอร์สเรียนของปีนี้ด้วยครับ ทำความรู้จักโครงสร้างข้อสอบ BMAT ก่อนอื่น เรามาทบทวนโครงสร้างข้อสอบ BMAT กันอีกครั้งครับ ข้อสอบ BMAT ยังคงมีทั้งหมด 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1. Thinking Skills, 2. Scientific Knowledge and Applications, และ 3. Writing Task โดยแต่ละส่วนจะประเมินผู้เข้าสอบดังนี้ Thinking […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
AKAT คือ? ทำความรู้จักข้อสอบยื่นแพทย์รอบพอร์ต SWU-NOTT
ข้อสอบน้องใหม่ล่าสุดที่ถูกประกาศนำมาใช้ทดแทนข้อสอบ BMAT อย่างเป็นทางการนั่นก็คือ ข้อสอบ AKAT ที่ทางคณะแพทย์ SWU-NOTT และทันตะ มศว จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกน้องๆ รอบพอร์ต TCAS68 AKAT คือ อะไร? สอบเมื่อไหร่? ควรเตรียมตัวอย่างไร? ไปทำความรู้จัก AKAT ให้มากขึ้นกัน AKAT คือ อะไร? ข้อสอบ AKAT หรือ Aptitude&Knowledge Admisson Test คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เป็นข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติของ มศว เช่น คณะแพทย์ โครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (SWU-NOTT), คณะทันตะ และหลักสูตรอินเตอร์อื่น ๆ ใน มศว ข้อสอบ AKAT วัดอะไรบ้าง หากดูจาก Blueprint ของข้อสอบ AKAT ที่ประกาศออกมา คงต้องบอกว่าโครงสร้างของข้อสอบมีความคล้ายคลึงกับ BMAT อย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นข้อสอบที่ออกแบบมาเพื่อทดแทน […]
Comments (0)
-
ไม่มีหมวดหมู่, Blog, GED
GED Ready เครื่องมือ(ไม่)ลับ อัพคะแนนตามเป้า!
สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความ GED วันนี้พี่จะมาเล่าถึงเครื่องมือในการเตรียมสอบ GED ที่สำคัญมากๆ ที่เรียกว่า GED Ready โดยเฉพาะน้องๆ ที่วางแผนอยากจะไปสอบ GED และต้องการที่จะยื่นวุฒิตัวนี้เพื่อเข้าจุฬา หรือ ธรรมศาสตร์ ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของ GED จาก 145 คะแนน (High School Equivalency) เป็น 165 คะแนน (GED College Ready) บอกเลยว่ายากกว่าเดิมมาก และที่สำคัญนโยบายใหม่ของ GED ตั้งแต่ปี 2017 (แอบไปถามทาง GED มาแล้ว ข้อมูลนี้คอนเฟิร์ม!!) ระบุว่า หากสอบผ่าน GED High School Equivalency ไปแล้ว (145/200) การทำเรื่องขอสอบใหม่เพื่อต้องการปรับคะแนนขึ้นจะไม่สามารถทำได้ทุกคนแล้วนะคะ ส่วนใครแก้ได้ใครแก้ไม่ได้เดี๋ยวพี่จะให้ข้อมูลไว้ข้างล่างค่ะ แต่เอาเป็นว่าตอนนี้มีเงื่อนไขเกิดขึ้นใหม่มากมาย สำหรับใครที่ยังยืนยันจะสอบ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-AAT คืออะไร? ครบทุกข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับข้อสอบ CU-AAT
สวัสดีน้องๆ ทุกคนครับ พี่แอดมินเชื่อว่าตอนนี้น้องๆ หลายคนคงกำลังสงสัยกันใช่มั้ยว่าข้อสอบ “CU-AAT คืออะไร” วันนี้เราจะมาตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการสอบ CU-AAT ตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร มีกี่วิชา ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ…ไม่พูดพร่ำทำเพลง พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! CU-AAT คืออะไร ข้อสอบ CU-AAT (Chulalongkorn University Academic Aptitude Test) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Verbal) ใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT ธรรมดาทั้ง Part Mathematics และ Part Verbal แต่ความยากของเนื้อหาข้อสอบจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-AAT เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ เช่น MEDICAL คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) EBA คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BALAC คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
Comments