GED Math & Science สองวิชาสำคัญ ช่วยอัพ Total Score

สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกับพี่หมิง Ignite อีกครั้ง วันนี้พี่หมิงก็มีเรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GED มาฝากอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากใช้คะแนน GED เทียบวุฒิเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลายๆ คณะมักจะกำหนดคะแนนรวม (Total Score) ขั้นต่ำที่น้องๆ ต้องทำได้ถึงจะมีสิทธิ์ยื่นสมัครเข้าคณะนั้นๆ เช่น CU-TU กำหนดคะแนน GED ขั้นต่ำที่ 660 คะแนน, MUIC กำหนดที่ 600 คะแนน เป็นต้น ดังนั้น นอกจากน้องๆ จะโฟกัสที่การสอบรายวิชาแล้ว อีกเรื่องที่ต้องคำนึงคือคะแนนรวม และสองวิชาที่ครูหมิงขอบอกเลยว่าเป็นตัวช่วยดึงคะแนนรวมที่ดีมากๆ ให้กับน้องๆ ก็คือ GED Mathematical Reasoning และ GED Science ค่ะ ก่อนอื่นเรามาเจาะลึกดูรายละเอียดของแต่ละวิชากันก่อนนะคะ
GED Mathematical Reasoning

ข้อมูลที่ต้องรู้ GED Mathematical Reasoning
1.ข้อสอบมี 2 Parts (46 Questions)
- Part 1: มีทั้งหมด 5 ข้อ (ห้ามใช้เครื่องคิดเลข)
- Part 2: มีทั้งหมด 41 ข้อ (อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขได้)
2.ให้เวลาทั้งหมด 115 นาที
3.หัวข้อที่ออกสอบ ได้แก่
- Basic Math – เรื่องของ
- Measurement and Geometry
- Basic Algebra
- Graphs and Functions
- Data Analysis, Statistics and Probability
GED Science

ข้อมูลที่ต้องรู้ GED Science
1.ข้อสอบมี 1 Part รวม 38 Questions (อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขได้)
2.ให้เวลาทั้งหมด 90 นาที
3.หัวข้อที่ออกสอบ ได้แก่
- Earth and Space Science 20%
- Physical Science 40%
- Life Science 40%

แล้วทีนี้มาถึงคำถามที่น้องๆ สอบถามมาบ่อยมากเลย นั่นก็คือ อยากได้คะแนน GED Math และ Science สูงๆ ต้องทำยังไง? จากที่ครูหมิงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเพื่อนๆ ที่เคยไปสอบ รวมทั้งขอคำแนะนำจากทีมครู Ignite ที่เชี่ยวชาญในการติวสอบ GED มา ขอสรุปมาเป็นคำแนะนำดังนี้ค่ะ
- อย่างแรกที่น้องๆ ต้องทำคือการทำความเข้าใจ Basic Knowledge ของทั้ง Math และ Science รวมท้องจดจำคำศัพท์วิชาการค่ะ เนื่องจากตัวข้อสอบของสองวิชานี้จะไม่ออกลึกมากแต่จะเน้นไปที่การวัดความเข้าใจของน้องๆ ดังนั้น การทำความเข้าใจและคิดเชื่อมโยงเนื้อหาของแต่ละบทเรียนจึงสำคัญที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เรามีข้อมูลในหัวเพียงพอและเป็นพื้นฐานต่อยอดในการทำข้อสอบค่ะ
- ฝึกโจทย์สไตล์ GED สิ่งนึงที่การสอบ GED แตกต่างจากการสอบทั่วๆ ไป อีกอย่างคือรูปแบบของข้อสอบที่มีความหลากหลาย ไม่ได้มีเพียงการเขียนตอบหรือ Multiple choices เท่านั้น แต่ยังมีทั้ง drag-and-drop, fill in the blank, select an area และ drop-down ซึ่งบอกเลยว่าถ้าน้องๆ คนไหนไม่เคยซ้อมมือหรือทำความรู้จักวิธีทำข้อสอบแนวนี้ไว้ก่อน ตอนเจอข้อสอบจริงก็อาจจะตกใจและส่งผลต่อคะแนนโดยไม่รู้ตัวได้นะคะ ดังนั้น ขอให้ฝึกทำโจทย์บ่อยๆ หรือจะมาทบทวนกับทาง Ignite ก็ยินดีต้อนรับเสมอค่ะ
- เตรียมความพร้อมด้วย GED Ready เป็น GED Mock Exam ที่น้องๆ หลายคนไว้ใจได้ที่สุดแล้วว่าคล้ายข้อสอบจริงแถมยังบอกละเอียดด้วยว่าเราพลาดตรงไหน ควรทบทวนเรื่องใดเพิ่มเติม น้องที่เคยไปสอบมาแอบกระซิบว่ามีบางข้อของ GED Ready ไปโผล่ในข้อสอบจริงด้วย! ดังนั้นเพื่อความชัวร์ ครูหมิงขอแนะนำให้น้องๆ ที่อยากได้คะแนน GED สูงๆ ไปสอบ GED Ready จนเราได้คะแนนถึงเป้าเกิน 2-3 ครั้งขึ้นไป โอกาสได้คะแนนตามเป้าสูงแน่นอนค่ะ
สุดท้ายนี้ครูหมิงก็ขอเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ ทุกคนที่ตั้งใจจะยื่นเทียบวุฒิเข้ามหาวิทยาลัยด้วย GED นะคะ หวังว่าน้องๆ จะได้คะแนนตามที่หวังและก้าวเข้าสู่นิสิตนักศึกษาในคณะที่ตัวเองตั้งใจไว้ได้ค่ะ หากมีข้อสงสัยหรืออยากวางแผนการเตรียมตัวสอบ GED ทั้งในรูปแบบติวตัวต่อตัว (1-ON-1) แบบคอร์สสด (Miniclass) และล่าสุดคอร์สเรียนออนไลน์ บนระบบ Learn Anywhere
คอร์สเรียน GED ตามสไตล์ที่ชอบ

พร้อมติว GED ออนไลน์ ได้ทุกที่ ผ่านระบบ Anywhere พร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา แนะแนว และอัพเดตข้อมูลในการเตรียมตัวสอบ GED ผ่านทาง line group >> https://bit.ly/3v2406Z
สามารถทักเข้ามาทำแบบทดสอบวัดความรู้ (Placement Test) และหากน้องๆ สนใจคอร์สเรียน GED สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สมัครเรียนได้ทาง Line คลิกได้เลยครับ
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน GED ทั้งหมดได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/ged/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
สรุปทุกข้อสงสัยเลือกสอบแบบไหนดี ระหว่าง CU TEST Paper – Based Test VS CU TEST E-Testing
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ISE วิศวะอินเตอร์ จุฬา ทุกคน พี่เชื่อว่าหลายคนใช้คะแนน CU-ATS & CU-AAT ในการยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่คงมีข้อสงสัยว่า แล้วมันต่างกันอย่างไร จะเลือกสอบ CU TEST แบบไหนดี วันนี้ พี่อิ้งค์ เลยมารีวิวและสรุปความแตกต่างของการสอบทั้ง 2 แบบ ว่ามีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้น้องๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะ เลือกสอบ CU TEST แบบ Paper – Based Test หรือแบบ E-Testing แบบไหนที่เหมาะสมกับเราและตอบโจทย์มากที่สุดครับ สรุปสิ่งที่เหมือนกันของการสอบ CU-TEST ทั้งแบบ Paper – Based Test VS E-Testing อย่างแรก เรามาพิจารณากันที่ความเหมือนกันของการสอบทั้ง […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
5 เหตุผลสุดปัง! ทำไมสอบแพทย์รอบ 1 (Portfolio) ถึงได้เปรียบกว่า
วันนี้พี่แอดมินพาพี่ๆ ignite idol คนเก่งมาพูดถึง 5 เหตุผลสุดปัง! ในการเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ 1 ว่าทำไมการเตรียมตัวใน รอบ Portfolio ถึงได้เปรียบกว่า พร้อมเทคนิคพิเศษกันแบบจัดเต็ม! ถ้าพูดถึงคณะแพทยศาสตร์ นั้นเป็นคณะที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมค่อนข้างสูง ทั้งรูปแบบการทำข้อสอบและการทำพอร์ตฟอลิโอและเป็นไปได้ว่าหลายคนอาจจะเลือกการสอบรอบที่ตัวเองเตรียมตัวมาพร้อมมากที่สุดก่อน แต่รู้หรือไม่ว่า…ถ้าน้องๆ สามารถเตรียมตัวให้พร้อมทันสอบตั้งแต่ TCAS รอบ 1 (Portfolio) ได้นั้นจะเพิ่มโอกาสในการติดพิชิตคณะแพทยศาสตร์ในฝันนั้น..ไม่ไกลเกินเอื้อมของทุกคนแน่นอน พี่ๆ เลยมีตัวอย่างจากรุ่นพี่ ignite ที่ติดคณะแพทยศาสตร์ ด้วยการสอบใน TCAS รอบ 1 (Portfolio) มาดูกันว่า..ทำไมทุกคนถึงเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ตั้งแต่ TCAS รอบที่ 1 หรือ แพทย์รอบพอร์ตฟอลิโอ ที่น้องๆ หลายคนเรียก และพี่ๆ มีเทคนิคอะไรในการเตรียมตัวให้ทันเพื่อสอบเข้าคณะสุดหินที่ไม่ธรรมดาแบบนี้ได้ตั้งแต่รอบพอร์ตฟอลิโอ […]
Comments (0)
-
ไม่มีหมวดหมู่, Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
MMI คืออะไร? รูปแบบการสอบสัมภาษณ์เข้าคณะแพทย์ชั้นนำ
น้องๆ ที่มีเป้าหมายสอบเข้า “คณะแพทย์” คงเคยได้ยิน หรือเห็น Requirements ที่ระบุรูปแบบการสอบสัมภาษณ์ แบบ MMI กันมาบ้าง ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอีกด่านสุดหินของการคัดตัวจริงแพทย์รอบพอร์ต งานนี้พี่แอดมินเลยอดใจไม่ไหว ที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ MMI มาให้น้องๆ ทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมกันแบบ ครบ จบ ในบทความเดียว MMI คืออะไร? MMI หรือ Multiple Mini Interview คือ การสัมภาษณ์ ที่นิยมใช้ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยเป็นการสัมภาษณ์ แบบแยก Station หรือ แยกเป็นฐานย่อยๆ ซึ่งจะมีการจำกัดเวลาในการเข้าสัมภาษณ์แต่ละ Station ไว้อย่างชัดเจน เมื่อครบตามเวลาที่กำหนด ก็จะต้องเปลี่ยน Staion วนไปเรื่อยๆ หมายความว่าผู้เข้าสัมภาษณ์ทุกคนจะได้วนครบทุก Station […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
AKAT คือ? ทำความรู้จักข้อสอบยื่นแพทย์รอบพอร์ต SWU-NOTT
ข้อสอบน้องใหม่ล่าสุดที่ถูกประกาศนำมาใช้ทดแทนข้อสอบ BMAT อย่างเป็นทางการนั่นก็คือ ข้อสอบ AKAT ที่ทางคณะแพทย์ SWU-NOTT และทันตะ มศว จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกน้องๆ รอบพอร์ต TCAS68 AKAT คือ อะไร? สอบเมื่อไหร่? ควรเตรียมตัวอย่างไร? ไปทำความรู้จัก AKAT ให้มากขึ้นกัน AKAT คือ อะไร? ข้อสอบ AKAT หรือ Aptitude&Knowledge Admisson Test คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เป็นข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติของ มศว เช่น คณะแพทย์ โครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (SWU-NOTT), คณะทันตะ และหลักสูตรอินเตอร์อื่น ๆ ใน มศว ข้อสอบ AKAT วัดอะไรบ้าง หากดูจาก Blueprint ของข้อสอบ AKAT ที่ประกาศออกมา คงต้องบอกว่าโครงสร้างของข้อสอบมีความคล้ายคลึงกับ BMAT อย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นข้อสอบที่ออกแบบมาเพื่อทดแทน […]
Comments (0)
Comments