รีวิวสอบเข้า แพทย์ มข. & รามา โอกาสที่มากกว่าของชาวอีสาน

เริ่มรู้จัก BMAT แพทย์ มข. & รามา และโอกาสที่มากกว่าสำหรับชาวอีสาน
ผมรู้จัก BMAT ตอนมาฟังงานแนะแนวของ OnDemand ที่จังหวัดอุดรธานี ก็รู้สึกว่าน่าสนใจ เป็นอีกทางเลือกนึงที่เหมาะกับเรา สำหรับโอกาสในการเข้าหมอด้วยรอบ Portfolio แล้วสมัยที่ผมอยู่ ม.5 เทอม1 ทางแพทย์ มข. เขาก็ประกาศเปิดรับด้วยคะแนน BMAT พอดี แต่รับแค่ 36 คนเอง ในขณะที่รอบโควต้าเขารับกันเป็นร้อยๆ เทรนด์ของ BMAT ก็ยังดูน้อยอยู่ ก็เลยคิดว่าอยากลองเสี่ยงดูเฉยๆ แต่มาถึงตอนนี้ มันรับเยอะขึ้น อย่างปีที่ผ่านมา ทั้ง MDX และ MD02 อย่าง MD02 นี่ขึ้นมาเป็น 70 กว่า ก็คือเพิ่มขึ้นมาเป็นเท่าตัวเลย ในขณะที่รอบโควต้าลดลงเรื่อยๆ เหลือแค่ 50 กว่าคนเอง เหมือนเขารับรอบ Portfolio เป็นรอบหลักแทนไปซะแล้ว สำหรับคนที่ยังลังเลอยู่ว่า จะเอารอบ 9 วิชาสามัญหรือ BMAT ดี ผมว่า BMAT น่าสนใจกว่า ลุ้นน้อยกว่าด้วย หมายความว่าถ้าคุณสอบ BMAT ผ่านเกณฑ์เนี่ย คุณมีโอกาสติดสูงเลย แล้วถ้าเกิดสอบไม่ผ่าน ก็แค่ไปลองกับ 9 วิชาสามัญต่อก็ได้

ยิ่งโครงการ MD02 นะ มันเป็นโอกาสทองมากๆ สำหรับคนที่อาศัยอยู่ภาคอีสาน มันเป็นโครงการที่รับคนพื้นที่โดยเฉพาะเลย อัตราการแข่งขันไม่สูงเท่าโครงการอื่น ถ้าเทียบอัตราการแข่งขันนะ อย่างรอบ กสพท อัตราการแข่งขันจะอยู่ที่ 1:25 คน แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็น BMAT อัตราการแข่งขันจะลดเหลือ 1:8 แล้วจะลดลงมาอีก ถ้าเป็นโครงการ MD02 เหลือแค่ 1:1 เลย เหมือนสู้กับคนคนเดียวเอง ถ้าคะแนนถึงเกณฑ์ก็แทบไม่มีอะไรน่ากังวลเท่าไหร่ครับ ถ้าเราเป็นคนภาคอีสานอยู่แล้ว BMAT แพทย์ มข. เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากครับ ถ้าไม่ลองยื่นโครงการนี้ ผมว่าน่าเสียดายมากๆ ครับ
ปล. แต่ผมเลือก MDX นะ เพราะผมดูจากผลคะแนนของตัวเองและพอร์ตแล้ว ค่อนข้างเป็นที่พอใจ เลยอยากลองเสี่ยง Challenge ตัวเอง ไปยื่น MDX จะได้ไม่ต้องมาแข่งกับเพื่อนตัวเองด้วย
ผมรู้สึกว่า BMAT มันเป็นทางลัด มันกระโดดข้ามขั้นตอนต่างๆ ไปได้ อย่างม.ปลาย ก็เรียนพิเศษแค่ IELTS กับ BMAT แล้วก็สอบเข้าไปเลยแค่นั้น คนส่วนใหญ่ชอบกลัวเรื่องภาษาอังกฤษ แต่จริงๆ แล้วในส่วนของภาษาอังกฤษ อย่างใน Part2 มันไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่ถ้าเรามีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีก็จะทำให้เราทำข้อสอบได้เร็วขึ้น ตีความโจทย์ได้ตรงมากขึ้น แต่ถ้าใครยังไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษก็ไปเพิ่มซะ ยังไงก็คุ้ม เพราะ BMAT ก็รับรอบ1 Portfolio เป็นหลักอยู่แล้ว ตอนนั้นผมเลยตัดสินใจมุ่งที่ BMAT อย่างเดียว แทบไม่ได้เตรียม กสพท เลยเพราะคิดว่ามันยาก แล้วก็ต้องสอบเยอะด้วย

TIMELINE การเตรียมตัว BMAT แพทย์ มข. & รามา
เริ่มจาก ม.5 พอเข้าเทอม 2 ผมก็เริ่มติว BMAT ที่ ignite by OnDemand นี่แหละ ประกอบกับตอนนั้นเข้าค่าย สอวน ด้วย เลยเหมือนได้ความรู้เชิงลึกมาด้วยเวลาอยากทบทวนบทเรียนก็จะง่ายขึ้น พอถึงช่วงปิดเทอม ก็ลุยติว IELTS ลองสอบอัพคะแนนไปเรื่อยๆ สอบครั้งแรกได้ 6.5 แล้วก็ไปฝึกมาเพิ่ม จนอีกครั้งก็ได้ 7.0 ตามที่ตั้งใจไว้
ม.6 ปีสุดท้าย ผมทุ่มเทเวลาให้กับการอ่านทบทวนเอง และฝึกทำโจทย์จับเวลา ข้อไหนที่ติด โจทย์แบบไหนที่พลาดบ่อยๆ ก็เอามาทวน ทำซ้ำๆ สุดท้ายไปสอบผมได้คะแนน Overall = 15.3A ครับ (Part1 = 5.9, Part2 = 6.4 และ Part3 = 3A)
(น้องๆ คนไหนที่ยังไม่มั่นใจในการสอบ IELTS แนะนำบทความ >> ผ่าข้อสอบ IELTS ก่อนสอบ IGNITE BY ONDEMAND เพื่อศึกษาแนวข้อสอบ IELTS ในการเตรียมตัวสอบ)
การเตรียม PORTFOLIO
อย่างที่หลายๆ คนรู้กัน องค์ประกอบของพอร์ตหลักๆ ควรจะมีส่วนสำคัญสามด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงานวิจัยหรือโครงงาน และด้านจิตอาสา ซึ่งในส่วนอื่นๆ ก็แล้วแต่มหาวิทยาลัยด้วย สมัยผม ม.4 – ม.5 ยังไม่ได้ตั้งใจเลือกว่าจะเอารอบไหนในการเข้ามหาวิทยาลัย ผมก็เข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการไว้เพื่อให้ได้ความรู้เชิงลึกหน่อย ปรากฏว่าพอมีประกาศรอบ Portfolio พอดี เราก็เอาอันนี้แหละไปใส่พอร์ตได้เลย ในส่วนของงานวิจัย เราก็ทำโครงงานคณิตศาสตร์ขึ้นมาแล้วก็เอาไปตระเวนแข่งตามรายการต่างๆ ครับ
ส่วนพวกจิตอาสา ผมได้ลองไปฝึกงานที่โรงพยาบาล 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง แล้วเราก็พยายามทำตัวให้ active พยายามเข้าไปช่วย พยายามเข้าไปถาม เราพยายามไม่ไปทำเพียงเพราะแค่จะเอารูป เอาผลงานมาทำพอร์ตเท่านั้น แต่เราไปเอาเรื่องราวและประสบการณ์มากกว่า เพราะมันไม่ได้สำคัญขนาดนั้นว่ามีอะไรอยู่ในพอร์ต แต่ที่สำคัญคือ เวลาเราเจอกรรมการแล้วเรามีเรื่องไปพูดให้เขาฟัง
นอกจากนั้นก็มีกิจกรรมอื่นๆ ด้วยนะ อย่างที่ขอนแก่นมีงานวิ่งมาราธอนเยอะมาก เราก็ใส่เรื่องตอนเราไปวิ่งมาราธอนเข้าไป ก็คิดว่า เอ๊ะ มันทำให้มีเรื่องเล่าดีนะ แต่สุดท้ายยังไงพอร์ตก็ไม่มีกำหนดตายตัวเป๊ะๆ หรอกครับ แล้วแต่คนแต่ละคนด้วย ทำพอร์ตที่เหมาะกับตัวเรา แสดงจุดเด่นของเราออกมาให้ได้ดีกว่าครับ
เตรียมสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio
การตัดสินใจครั้งสำคัญตอนสอบติด
ตอนที่ประกาศเรามีรายชื่อติดรอบสัมภาษณ์ที่ จุฬาฯ รามา วชิรพยาบาล แล้วก็ขอนแก่นด้วย ส่วนตัวผม ผมคิดว่า เราก็ไปสัมภาษณ์ทุกที่นั่นแหละ แต่คราวนี้วันเวลาสัมภาษณ์ของที่จุฬาฯจะชนกับรามาพอดี ทำให้เราต้องเลือก จริงๆ ทุกมหาวิทยาลัยดีหมดเลย แต่ผมคิดว่ารามาน่าจะตอบโจทย์ผมมากกว่า เพราะว่าเห็นพวกวีดีโอประชาสัมพันธ์ต่างๆ ไม่รู้สิ แต่มันดูเข้ากับผมมากกว่า ผมเลยไปสัมภาษณ์ที่รามา แล้วก็ไปสัมภาษณ์ที่มข. และที่วชิรพยาบาลด้วย
สุดท้ายก็ติดที่ มข. วชิรพยาบาล และรามา ก็เลยตัดสินใจไปที่รามาธิบดีครับ
ด่านสอบสัมภาษณ์ แพทย์ มข. & รามา
การสัมภาษณ์แต่ละที่ เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดคือ MMI (Multiple Mini Interview) เป็นแบบห้องย่อยๆ เดินเข้าห้องนึง พอหมดเวลาก็เดินออกไปอีกห้องนึง
สำหรับ แพทย์ มข. เขาจะให้เรายืนรอหน้าห้อง พอมีเสียงออดเราก็จะเดินเข้าไปในห้อง กรรมการจะไม่ถามตอบกับเรา คือเขาจะให้อ่านแค่คำถาม แล้วเราก็พูดให้กรรมการฟังอย่างเดียว แล้วก็มีกล้องบันทึก แต่ถ้าเขาอยากฟังอะไรเพิ่ม เขาก็จะพูดแค่ว่า มีอะไรพูดเพิ่มเติมอีกไหม?
ตอนไปสัมภาษณ์เจอ 4 คำถาม 7 stations ที่เหลือเป็นพัก คำถามที่เจอแล้วรู้สึกว่ายากที่สุดคือแนวคำถามที่เขาให้วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ เช่น ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเอานักเรียนที่เป็นออทิสติกมาเรียนรวมกับนักเรียนปกติ คือผมรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่เราไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เราต้องใช้ไหวพริบในการตอบ มันเลยยาก
แนะนำว่าอยากให้เตรียมตัวทั้งเรื่องการพูดและการเขียน อย่างตอนไปสัมภาษณ์ ไม่รู้มาก่อนเลย อยู่ๆ เขาก็แจกกระดาษให้เขียนเรียงความหัวข้อประมาณว่า ‘เรามองตัวเองในฐานะแพทย์ในอนาคตอย่างไร?’ แต่ไม่ต้องห่วงเรื่องภาษานะครับ ทั้งการเขียนเรียงความและสัมภาษณ์ทั้งหมดเป็นภาษาไทย
สำหรับ แพทย์ รามา ใช้เวลาทั้งกระบวนการจริงๆคือ 4 วัน มีวันนึงตรวจร่างกาย วันนึงไปดูโรงพยาบาล วันนึงทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา ทำกิจกรรมกลุ่ม และวันสุดท้ายเป็นวันสัมภาษณ์จริง เท่าที่จำได้ เหมือนมี 13 stations รูปแบบคล้ายๆ กับของ แพทย์ มข. แต่กรรมการจะถามตอบกับเรามากกว่า ไม่มีกล้อง รูปแบบของคำถามจะค่อนข้างหลากหลาย บางห้องก็ให้เป็นคะแนน บางห้องก็เป็นแค่ผ่านกับไม่ผ่าน การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทยทั้งหมด มีอังกฤษอยู่ห้องเดียวแต่ถึงเป็นห้องภาษาอังกฤษ เขาก็ไม่ว่าอะไร ถ้าจะขอเขาพูดภาษาไทย ผมเองก็ขอเขาตอบเป็นภาษาไทย เพราะคิดว่าอธิบายเป็นภาษาไทยน่าจะเข้าใจได้มากกว่า
บรรยากาศโดยรวมไม่ค่อยกดดัน กับเพื่อนๆ ก็อยู่ด้วยกันมาตั้ง 4 วันแล้ว กิจกรรมกลุ่มก็ทำด้วยกันมา กิจกรรมกลุ่มเป็นลักษณะเหมือนการละลายพฤติกรรมมากกว่า ให้ทำภารกิจร่วมกัน เช่น มีอุปกรณ์มาให้ แล้วให้เราประดิษฐ์เป็นนู่นเป็นนี่ ทำรางให้ลูกปิงปองวิ่ง อะไรประมาณนี้ คิดว่าแต่ละปีก็คงจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
มีอีกจุดที่คล้ายกับ แพทย์ มข. คือ มีให้เขียนเรียงความสด แต่อันนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่สอบติดแล้วจะไปสัมภาษณ์ก็ควรเตรียมทั้งพูดและเขียนนะครับ
ความประทับใจที่ ignite by OnDemand
โห ผมประทับใจ staff มากๆ ครับ เพราะว่า พอคะแนนถึงแล้วเนี่ย ผมไปที่ ignite ที่กรุงเทพฯ ตั้ง 2 ครั้ง แล้วก็ได้รับคำปรึกษาที่ดีถูกใจมากๆ ครั้งแรกไปตอนที่คะแนนเพิ่งออก ก็ไปหาคำแนะนำเรื่อง Portfolio แล้วพี่ๆ แนะนำดีมาก เรื่องการเขียน story ในพอร์ต กับการเพิ่มกิจกรรม แล้วก็ไปอีกรอบนึงตอนที่ เตรียมสัมภาษณ์ ผมไป Mock interview ก็ได้รับคำแนะนำดีมากๆจากพี่กั๊ก ทำให้มั่นใจมากขึ้น ตอบได้ตรงประเด็น จนวันนี้ผมสอบติดแล้ว ขอบคุณมากๆ ครับ
เป็นยังไงบ้างครับน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยคะแนน BMAT โดยเฉพาะชาวภาคอีสานที่อยากสอบเข้าคณะแพทย์ มข. คงได้เทคนิคในการเตรียมตัวในการสอบ และการเตรียม Portfolio ได้อย่างเจาะลึกกันเลย น้องๆ สามารถศึกษาเรื่องการสอบ BMAT เพิ่มเติมต่อ อย่างเจาะลึกได้กับบทความ >> BMAT คืออะไร? ทำความรู้จัก BMAT อีกหนึ่งโอกาสในการเป็นหมอ
ดูตัวอย่างคอร์สเรียน BMAT ครบทุก Part
น้องๆ ขอมา ignite จัดให้กับตัวอย่างการเรียนการสอนในคอร์ส BMAT ทุกวิชากับครูทุกๆ ท่าน..นอกจากความเชี่ยวชาญในการสอน BMAT เรายังขอรับประกันว่าน้องๆ จะได้รับความสนุกและอบอุ่นกลับไปแน่นอนครับ
คลิกเพื่อรับชมตัวอย่างคอร์สเรียนได้ที่ 👉 https://bit.ly/329aRxN
BMAT คือกุญแจสำคัญจะที่ทำให้ความฝันการสอบติดแพทย์ของน้องๆ เป็นจริง สมัครคอร์ส BMAT ALL PART กับ Ignite ทั้งเรียน คอร์สสด หรือ คอร์สออนไลน์ รับเฉลยละเอียดข้อสอบ BMAT Past papers ย้อนหลังกว่า 10 ปี และเฉลยละเอียดข้อสอบ TSA ย้อนหลังเพิ่มอีก 5 ปี ฟรี! เพื่อให้ทุกคนได้ฝึกฝนอย่างเต็มที่และให้ชัวร์ว่าจะสอบติดคณะแพทย์รอบ 1 ก่อนใคร
น้องคนไหนที่สนใจอยากขอรับคำปรึกษาและให้พี่ๆ ช่วยวางแผนการสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio ด้วย BMAT สามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @ignitebyondemand , โทร 02-658-0023 , 091-576-1475
สามารถดูข้อมูล คอร์ส BMAT เพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/
โดยน้องๆ สามารถช้อปคอร์สเรียน BMAT Online ได้เองง่ายๆ ผ่านทาง >> ShopOnline
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เตรียมตัวอย่างไรให้พิชิต BMAT Biology โดย ครูเคนจิ
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่น้องหมอทุกๆ คน พี่เคนจิ สอนวิชา BMAT Biology ให้ครับ ignite by OnDemand อยากมาแชร์เทคนิคที่หลายๆคนสงสัยว่าจะ เตรียมตัวทำข้อสอบ BMAT Biology ยังไง? ให้ทำได้ครบ ทำได้ทัน และมั่นใจในทุกคำตอบ พี่เคนจิ ได้ไกด์แนวทางในการเตรียมตัวให้น้องๆ ไว้แล้วเริ่มอ่านกันได้เลย เทคนิคเตรียมตัวสอบ BMAT Biology โดยครูเคนจิ 1. ทำความเข้าใจ specification ทำความเข้าใจ specification ให้ดีว่าเราต้องรู้อะไรบ้าง เพราะสิ่งที่เราต้องรู้ในแต่ละปีอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ใช้ตัว specification เป็น checklist ดูว่าเรารู้ทุกอย่างครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ข้อสอบจะชอบออกเนื้อหาใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้าไป 2. ทำโจทย์ BMAT เยอะๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับแนวคำถาม เพราะโจทย์ทั้งยาวและชอบดักทางเรา โดยการใช้คำที่มักทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่น only, could be กับ must […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวเตรียมตัวสอบและสัมภาษณ์จนติด BBA TU โดยน้องภูมิ – ก๊อต คู่หู คู่ฮาจากรั้ว BBA TU ปีล่าสุด!
สวัสดีครับน้องๆ สำหรับหลายคนที่อยากเข้าเรียน BBA หรือหลักสูตรบริหารอินเตอร์นั้น อาจจะคิดว่าการสอบเข้า BBA เป็นเรื่องง่ายๆ ชิวๆ แต่เดี๋ยวก่อน!! วันนี้รุ่นพี่ ignite 2 คน ซึ่งตอนนี้เพิ่งเป็นนักศึกษา BBA TU (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ไปหมาดๆ จะมาเล่าให้น้องฟังว่า การสอบเข้า BBA ไม่ได้ง่ายอย่างที่น้องคิด!! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันดีกว่าครับว่าพี่ๆ เค้าพยายามกันมากแค่ไหน และมีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงให้ติดคณะในฝัน? Q : แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ ก๊อต : สวัสดีน้องๆ ครับ พี่ชื่อ ก๊อต-พจนารท จบจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิตครับ ตอนนี้สอบติด BBA (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ ภูมิ : พี่ชื่อ ภูมิ-จารุภูมิ จบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมครับ ตอนนี้สอบติด BBA ธรรมศาสตร์ คณะเดียวกันกับก๊อตเลยครับ Q […]
Comments (0)
-
Blog
ไขข้อสงสัย ความแตกต่างระหว่างหลักสูตร A-Level, IB, AP ในระบบการศึกษาแบบนานาชาติ
ในยุคที่โรงเรียนนานาชาติในไทยพากันผุดเป็นดอกเห็ด บรรดาผู้ปกครองและน้องๆ ก็อาจจะสับสนกับระบบและหลักสูตรต่างๆ ของ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ทำไมคนนั้นเรียน A-Level แล้ว ระบบ IB ละคืออะไร ทำไมบางโรงเรียนถึงเลือกได้ทั้งสองแบบ ในขณะที่บางโรงเรียนมีแค่ AP แล้วต้องสอบ SAT ด้วย ?? วันนี้พี่เอมี่และพี่แทนจะมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เกี่ยวกับความต่างของแต่ระบบวิชาในโรงเรียนกันค่ะ โดยหลักสูตรที่ popular ที่สุดในประเทศไทยคงจะหนีไม่พ้นหลักสูตรอังกฤษ ตามด้วยหลักสูตรอเมริกัน และ หลักสูตร IB ตามลำดับ ความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษานานาชาติ หลักสูตรอังกฤษ – หลักสูตรอเมริกัน – หลักสูตร IB พอจะเห็นภาพความแตกต่างของระบบการศึกษาต่างๆ กันแล้วใช่ไหมคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองที่กำลังเลือกโรงเรียนให้บุตรหลาน หรือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบโรงเรียนนานาชาติต่างๆ ควรจะศึกษาหลักสูตรที่เหมาะกับความถนัดและความต้องการในการเรียนต่อในอนาคตมากที่สุดค่ะ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
ข้อสอบ ACT คืออะไร? มารู้จักอีกหนึ่งโอกาส สอบติดคณะอินเตอร์
ข้อสอบ ACT คืออะไร? คงเป็นคำถามที่น้องๆ ทีมอินเตอร์สงสัยกันมากที่สุดตอนนี้ !!! หลังจากที่ข้อสอบ SAT Subject tests ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ ทำให้มหาวิทยาลัยในไทยที่เปิดสอนหลักสูตรอินเตอร์ต่างพากันเบนเข็มมาเปิดรับคะแนน ACT กันมากขึ้น ไม่ว่าจะคณะวิศวะหรือวิทยาศาสตร์ ดังนั้นใครที่อยากสอบติด TCAS รอบ1 ต้องมารู้จักกับข้อสอบ ACT ที่เป็นอีกหนึ่งโอกาสทำให้น้องๆสอบติดคณะอินเตอร์ยอดฮิตนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านพร้อมกันได้เลย…ignite เตรียมข้อมูลพร้อมเสิร์ฟให้น้องๆ แล้วครับผม ข้อสอบ ACT คือ ACT หรือ American College Testing Assessment คือ ข้อสอบมาตรฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้วัดระดับทักษะด้านการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการสื่อสารที่จำเป็นในการเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยหลักสูตรอินเตอร์ที่เปิดรับนักศึกษาจากระบบ TCAS รอบ1 มักจัดหมวดหมู่คะแนน ACT ให้อยู่ประเภทเดียวกับคะแนน SAT หรือ SAT […]
Comments (0)
Comments